ฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ (Histamine receptor antagonists)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยาฮิสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์(Histamine receptor antagonists)เป็นกลุ่มยาที่ใช้ต่อต้านสารฮีสตามีน(Histamie) ซึ่งถูกจำแนกออกเป็น 4 ประเภทตามชนิดตัวรับ(Receptor)ของสารฮีสตามีน (Histamine receptor)ดังนี้

1. เฮช1 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ (H1 receptor antagonist) หรือเรียกว่า เฮช1บล็อกเกอร์ (H1 blockers): ทางคลินิกได้นำยากลุ่มนี้มารักษาอาการแพ้ของร่างกายหลายแห่ง เช่น อาการแพ้ของผิวหนัง อาการหดเกร็งของหลอดลม อาการคัดจมูก อาการเยื่อตาอักเสบ อาการบวมที่เรียกว่า Angioedema

ชนิดของผลิตภัณฑ์ยากลุ่มนี้มีทั้งชนิดรับประทานและชนิดยาใช้ภายนอกเฉพาะที่ อย่างเช่น ยาทาผิวหนัง ยาหยอดจมูก ยาหยอดตา ยาของกลุ่มนี้มักจะทำให้ผู้ที่ได้รับมีอาการง่วงนอน ทั้งนี้มีสาเหตุจากตัวยาสามารถแทรกซึมผ่านเข้าในสมองได้นั่นเอง จำนวนยาในหมวด H1 receptor antagonist มีมากมาย และถูกแบ่งออกเป็นยารุ่นที่ 1, 2, 3, ตามลำดับของการสังเคราะห์และการค้นพบ ตัวอย่างยาบางรายการในหมวดนี้ ได้แก่ Diphenhydramine, Loratadine, Cetirizine, Fexofenadine, Clemastine

2. เฮช2 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ (H2 receptor antagonist) หรือเรียกว่า เฮช2 บล็อกเกอร์ (H2 blockers): ทางคลินิกนำมายากลุ่มนี้ใช้รักษา โรคกระเพาะอาหารอักเสบ อาการกรดไหลย้อน อาการอาหารไม่ย่อย รูปแบบยาแผนปัจจุบันของยากลุ่มนี้ มีทั้งยาชนิดรับประทานและยาฉีด ตัวอย่างกลุ่มยาในหมวดนี้ ได้แก่ Ranitidine, Cimetidine, Famotidine, และ Nizatidine

3. เฮช3 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ (H3 receptor antagonist): ยากลุ่มนี้มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยาในกลุ่ม H1 และ H2 receptor antagonist กล่าวคือ ตัวยาจะช่วยคงระดับการทำงานและช่วยป้องกันการเสื่อมของสมอง ปัจจุบันยาในกลุ่มนี้ ยังอยู่ในระหว่างการวิจัยและพัฒนา ตัวอย่างยาของหมวดนี้ ได้แก่ Clobenpropit, Ciproxifan, Conessine, และ Pitolisant

4. เฮช4 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ (H4 receptor antagonist): เป็นกลุ่มยาที่ถูกค้นพบหลังสุด ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้นำมาใช้รักษาทั้งอาการแพ้ และอาการหอบหืด ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ คือ Thioperamide

เราอาจพบเห็นยากลุ่มฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ มีใช้ทั้งในสถานพยาบาล และมีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป อย่างไรก็ตามการใช้ยาในกลุ่มนี้ก็ควรต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์

ฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์มีสรรพคุณ(คุณสมบัติ)อย่างไร?

ฮีสตามีนรีเซพเตอร์แอนตาโกนิสต์

ยาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น

  • รักษาอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน ลมพิษ คัดจมูก ระคายเคืองตา
  • รักษาและป้องกันอาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ภาวะกรดไหลย้อน บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • ลดอาการเมารถ-เมาเรือ
  • ช่วยสงบประสาท/ยาคลายเครียด และมีฤทธิ์ทำให้นอนหลับ
  • บรรเทาอาการวิตกกังวล

ฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์แต่ละชนิด/กลุ่ม จะออกฤทธิ์ตามตำแหน่งของตัวรับที่จำเพาะเจาะจงตามเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย จึงออกฤทธิ์ได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับตัวรับแต่ละตัว อย่างเช่น การออกฤทธิที่ ตัวรับ H1 และ H2 receptor สามารถส่งผลยับยั้งอาการแพ้ต่างๆ ลดการหลั่งกรดที่เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือกรดไหลย้อน จากกลไกดังกล่าว จึงเป็นที่มาของฤทธิ์ในการรักษาตามสรรพคุณ

ฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์มีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น

  • ยาชนิดรับประทาน
  • ยาฉีด
  • โลชั่นทาผิว
  • ยาหยอดจมูก
  • ยาหยอดตา

ฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์มีขนาดการบริหารยาอย่างไร?

การบริหารยา/ใช้ยาในกลุ่มฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ มีความจำเพาะและเหมาะสมต่ออาการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละอาการ/แต่ละโรค ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาการป่วยของผู้ป่วย อายุ โรคประจำตัว สภาวะการตั้งครรภ์ ประวัติการแพ้ยา ฯลฯ ซึ่งแพทย์จะนำมาประกอบกัน แล้วจึงพิจารณาการเลือกใช้ชนิดและขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นกรณีๆไป การใช้ยากลุ่มนี้อย่างปลอดภัยจึงต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น ดังนั้น บทความนี้ จึงขอไม่กล่าวถึงขนาดการบริหารยากลุ่มนี้ ในบทความนี้

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมยาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้ เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนม หรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยา/ใช้ยาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ สามารถรับประทาน/ใช้ยาเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทาน/ใช้ยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดรับประทาน/ใช้ยาเป็น 2 เท่า

แต่อย่างไรก็ดี เพื่อประสิทธิผลของการรักษา ควรรับประทาน/ใช้ยาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ ตรงเวลา

ฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์อาจก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์(ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)ต่อระบบอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนี้ เช่น

  • ผลต่อระบบประสาท: เช่น มีอาการง่วงนอนหรือไม่ก็นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ประสาทหลอน มีอาการชัก
  • ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: เช่น หิวอาหารบ่อย ปากแห้ง ท้องเสียหรือไม่ก็ท้องผูก
  • ผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ: เช่น ปัสสาวะขัด
  • ผลต่อตา: เช่น ตาพร่า

มีข้อควรระวังการใช้ฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์อย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มนี้
  • ระวังการใช้กับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคต้อหิน ผู้ป่วยไทรอยด์ฮอร์โมนสูง(ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ) ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยด้วยโรคตับ โรคไต ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • การใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งจากแพทย์เท่านั้น ด้วยยาในกลุ่มนี้มี หลายรายการยาที่ไม่อนุญาตให้ใช้กับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์
  • ยาส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ สามารถผ่านไปกับน้ำนมของมารดาได้ ดังนั้น ระหว่างการใช้ยากลุ่มนี้ จึงควรเว้นการให้นมมารดากับบุตร เพื่อป้องกันมิให้ทารกได้รับผลกระทบ/ผลข้างเคียงจากยาเหล่านั้น
  • ระหว่างการใช้ยานี้หากพบอาการ วิงเวียน ง่วงนอน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิในการควบคุม เช่น การขับรถ การทำงานกับเครื่องจักรกล เพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
  • หากหลังใช้ยานี้แล้ว พบอาการของการแพ้ยา เช่น อึดอัด/แน่นหน้าอก/หายใจลำบาก มีไข้สูง ขึ้นผื่นทั้งตัว ให้หยุดการใช้ยานี้ทันที แล้วรีบไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน
  • การใช้ยานี้ในเด็ก ควรต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์
  • ไม่ควรรับประทานยานี้ร่วมกับสุรา เพราะจะยิ่งทำให้มีอาการ วิงเวียน ง่วงนอนเพิ่มมากขึ้น
  • ยาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ส่วนมาก จะถูกตับเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีและขับออกมากับปัสสาวะ ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีปัญหาของไต–ตับ ทำงานผิดปกติ แพทย์ อาจต้องปรับขนาดรับประทานให้เหมาะกับผู้ป่วยเป็นกรณีๆไป
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา”ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาต้านฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด อาหารเสริม และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้ง ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ(อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอ

ฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • การใช้ยาต้านฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ร่วมกับยาที่ออกฤทธิ์กดการทำงานของสมอง (CNS depressant,เช่นยา Benzodiazepines, Barbiturate) จะส่งเสริมฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน และฤทธิ์สงบประสาทเพิ่มขึ้น หากต้องใช้ยาร่วมกัน แพทยจะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
  • การใช้ยา Terfenadine ร่วมกับยาต้านเชื้อรา เช่นยา Ketokonazole อาจส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งเคยมีรายงานกับผู้ป่วยบางรายถึงขั้นเสียชีวิต จึงห้ามใช้ยาทั้ง 2 รายการนี้ร่วมกันโดยเด็ดขาด
  • การใช้ยา Ranidine ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin จะทำให้ระดับของยา Warfarin อยู่ในร่างกายได้นานขึ้น เมื่อใช้ยาร่วมกัน แพทยจะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
  • การใช้ Famotidine ร่วมกับยาต้านไวรัส เช่นยา Atazanavir หรือยาต้านเชื้อรา เช่นยา Itraconazole และ Ketoconazole จะส่งผลให้ยาต้านไวรัสและยาต้านเชื้อราถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารลดลง จึงทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาของยาทั้ง 2กลุ่มนั้นด้อยลงไปด้วย หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน แพทยจะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมตามสภาพร่างกายของผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป

ควรเก็บรักษาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์อย่างไร?

ควรเก็บยาฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ ภายใต้อุณหภูมิห้องที่เย็น ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยากลุ่ม ฮีสตามีน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ ที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย เช่น

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Chlorpheniramine ANB (คลอเฟนิรามีน เอเอ็นบี)ANB
Chlorpheniramine GPO (คลอเฟนิรามีน จีพีโอ)GPO
Chlorpheniramine Medicpharma (คลอเฟนิรามีน เมดิกฟาร์มา)Medicpharma
Chlorpheniramine T Man (คลอเฟนิรามีน ทีแมน)T. Man Pharma
Chlorpheniramine T.O. (คลอเฟนิรามีน ที.โอ)T. O. Chemicals
Chlorpyrimine (คลอไพริมีน)Atlantic Lab 
Carinose (คาริโนส)Community Pharm PCL
Clarid (คลาริด)Biolab
Clarityne (คลาริไทน์)MSD 
Halodin (ฮาโลดิน)T. O. Chemicals
Logadine (โลกาดีน)General Drugs House 
Lolergy (โลเลอร์จี)GPO
Loradine (ลอราดีน)Greater Pharma
Loranox (ลอราน็อกซ์)Charoen Bhaesaj Lab 
Alerest (อาเลเรสท์)Community Pharm PCL
Cetrimed (ซิไทรเมด)Medifive
Zyrtec (เซอร์เท็ค)GlaxoSmithKline 
Procodyl (พร็อกโคดิล)Bangkok Lab & Cosmetic
Phensedyl (เฟนเซดิล)Aventis
Atarax (อาทาแร็กซ์)GlaxoSmithKline 
Hadarax (ฮาดาแร็กซ์)Greater Pharma
Allerdryl (อัลเลอร์ดริล)Greater Pharma
Antipru Lotion (แอนติพรู โลชั่น)BJ Benjaosoth
Cidine (ซิดีน)Medifive
Citidine (ซิทิดีน)Atlantic Lab
Siamidine (ไซมิดีน)Siam Bheasach
Ulcemet (อัลซิเมท)T. O. Chemicals 
Cigamet (ซิกาเมท)General Drugs House
Manomet (มาโนเมท)March Pharma
Stomedine (สโตเมดีน)Osoth Interlab
Alserine (แอลเซอรีน)Union Drug
Chintamet (จินตาเมท)Chinta
Cimet (ไซเมท)Chinta
Cimetidine Utopian (ไซเมทิดีน ยูโทเปียน)Utopian
Cimet-P (ไซเมท-พี)P P Lab
Clinimet (คลินิเมท)Bangkok Lab & Cosmetic
G.I. (จี.ไอ.)T. Man Pharma
Iwamet (อิวาเมท)Masa Lab
Lakamed (ลาคาเมด)T. Man Pharma
Peptidine (เปปทิดีน)A N H Products
Sertidine (เซอร์ทิดีน)Chew Brothers
Shintamet (ชินตาเมท)YSP Industries
Sincimet (ซินซิเมท)SSP Laboratories
Tacamac (ทาคาแม็ก)Medicine Products
Ulcacin (อัลเคซิน)Utopian
Ulcine (อัลซีน)Pharmahof
Vescidine (เวสซิดีน)Vesco Pharma 
Cencamat (เซนเคแมท)Pharmasant Lab
Cimag (ซิแม็ก)T P Drug 
Cimetidine GPO (ไซเมทิดีน จีพีโอ)GPO
Cimetin (ไซเมทิน)T. Man Pharma
Ciminpac (ไซมินแพค)Inpac Pharma
Duotric (ดูโอทริค)Asian Pharm
Gastasil (แก๊สตาซิล)Heromycin Pharma
K.B. Cymedin (เค.บี. ไซมิดิน)K.B. Pharma
Milamet (มิลาเมท)Milano
Promet (โปรเมท)Millimed
Setard (ซิทาร์ด)Charoon Bhesaj
Simaglen (ซิมาเกลน)Unison
Startidine (สตาร์ทิดีน)Inpac Pharma
Tagapro (ทากาโปร)Medicine Products
Ulcimet (อัลซิเมท)Polipharm
Ulsamet (อัลซาเมท)Burapha
Acicare (อะซิแคร์)Unique
Ranit-VC Injection (รานิท-วีซี อินเจ็คชั่น)Vesco Pharma
Xanidine (ซานิดีน)Berlin Pharm
Ranidine (รานิดีน)Biolab
Ratic (ราติค)Atlantic Lab
Zantac (แซนแท็ค)GlaxoSmithKline
Histac (ฮีสแท็ค)Ranbaxy
Ranicid (รานิซิด)M & H Manufacturing
Ranin-25 (รานิน-25)Umeda
Rantodine (แรนโทดีน)Utopian
R-Loc (อาร์-ล็อค)Zydus Cadila 
Zanamet (ซานาเมท)T. O. Chemicals
AcilocCadila
Ramag (ราแม็ก)T P Drug
Ranid (รานิด)T. Man Pharma
Rantac 150 (แรนแท็ก 150)Medicine Products 
Ratica (ราติกา)L. B. S.
Utac (ยูแท็ก)Millimed
Axid (เอซิด)Eli Lilly
Famosia (ฟาโมเซีย)Asian Pharm
Famotidine March Pharma (ฟาโมทิดีน มาร์ช ฟาร์มา)March Pharma
Pharmotidine (ฟาร์โมทิดีน)Community Pharm PCL
Vesmotidine (เวสโมทิดีน)Vesco Pharma
Famotab (ฟาโมแท็บ)Bangkok Lab & Cosmetic
Pepfamin (เปปฟามิน)Siam Bheasach
Ulfamet (อัลฟาเมท)T. O. Chemicals
Agufam (อะกูฟาม)ST Pharma
Famoc (ฟาม็อก)Berlin Pharm
Famonox (ฟาโมน็อก)Charoen Bhaesaj Lab
Famopsin (ฟาม็อพซิน)Remedica
Pepcine (เปปซีน)Masa Lab
Peptoci (เปปโทซี)Pharmasant Lab
Fad (ฟาด)T. Man Pharma
Famocid (ฟาโมซิด)Sun Pharma
Famopac (ฟาโมแพ็ค)Inpac Pharma
Fasidine (ฟาซิดีน)Siam Medicare
Pepdenal (เปปดีนอล)MacroPhar
Ulceran (อัลซีแรน)Medochemie

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Histamine_receptor [2016,Sept17]
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/H1_antagonist#Indications [2016,Sept17]
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/H2_antagonist#Class_members [2016,Sept17]
  4. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15573868 [2016,Sept17]