อากาศเย็น...เสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน (ตอนที่ 2)

ในร่างกายของคนเรานั้น มีระบบการทำงานต่างๆ มากมายที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคหัวใจ ซึ่งระบบการทำงานดังกล่าว ล้วนได้รับการกระตุ้นโดยการผลิตวิตามินดีที่เกิดจากการสัมผัสกับแสงแดดนั่นเอง อาทิ การเพิ่มขึ้นของสารน้ำ (Cytokines) ตามธรรมชาติของร่างกาย ที่ช่วยต้านการอักเสบ

ในเรื่องความสำคัญของวิตามินดี ยังมีการต้านการเกิดแคลเซียมที่เกาะหลอดเลือด (Vascular calcification) และการยับยั้งการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดเลือด นอกจากนี้ ยังมีผลวิจัยจากการศึกษาต่อมไร้ท่อ (Clinical Endocrinology) ที่พบว่าคนที่มีระดับวิตามินดีโดยเฉลี่ยต่ำนั้น มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 378% ที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ

ผลวิจัยอีกฉบับหนึ่งจากประเทศฟินแลนด์พบว่า เมื่อเทียบกันแล้ว คนที่ระดับวิตามินดีต่ำที่สุด มีความเสี่ยงมากกว่าคนที่มีระดับวิตามินดีสูงสุด ถึง 25% ที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจหรือเส้นเลือดเลี้ยงสมองอุดตัน ส่วนภาวะหลอดเลือดแดงตึง (Arterial stiffness) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคหัวใจ ก็ยังเกี่ยวข้องกับภาวะขาดวิตามินดี

ดังนั้น เราจึงไม่ควรละเลยความสำคัญของการรักษาสมดุลของระดับวิตามินดีในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงหน้าหนาว ที่ฟ้ามืดเร็ว ซึ่งหมายถึงโอกาสการสัมผัสกับแสงแดดที่น้อยลง เราจึงควรให้ความสำคัญกับการเตรียมกับ ภาวะการขาด วิตามินดีด้วย

คนส่วนมากมักไม่ตระหนัก ว่าวิตามินดีสามารถมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ต่อการปรับสภพาความดันเลือดให้เป็น ปกติ และลดความเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจเช่นกัน แหล่งผลิตวิตามินดีที่ดีที่สุดก็คือการที่ผิวได้รับแสงแดด ในช่วงหน้าหนาว ชาวต่างประเทศอาจใช้เตียง อาบแดด (Tanning bed) แบบปลอดภัย

แต่สำหรับคนไทย นอกจากพยายามอยู่ในที่แจ้งที่มีแสงแดดแล้ว เราสามารถใช้วิธีกินวิตามินหรืออาหารเสริมก็ได้ สิ่งสำคัญก็คือ เราต้องแน่ใจว่า เราได้รับวิตามินดีในรูปแบบที่ถูกต้อง และในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด นั่นเอง

นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้สภาพอากาศของประเทศไทยหนาวเย็นขึ้น โดยเฉพาะในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสภาพอากาศที่เย็นจะมีความเหมาะสมต่อการเกิดโรคหัวใจเฉียบพลันที่เกิดขึ้นในหน้าหนาว (Winter heart attack)

โรคหัวใจเป็นหนึ่งในสี่ของสาเหตุการเสียชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกา และในแต่ละปี มีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้มากกว่า 631,000 คน นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่คนส่วนมากมักไม่รู้ คือ อาการที่มักเกิดขึ้น มากที่สุดของโรคหัวใจนั้น ไม่ใช่อาการแน่น หน้าอก หรือหายใจติดขัดแต่อย่างใด แต่กลับเป็นการเสียชีวิตเฉียบพลัน (Sudden death)

ทว่า ก็ยังพอมีข่าวดีในข่าวร้ายอันน่าตกใจ ข่าวดีที่ว่าก็คือ โรคหัวใจเป็นโรคที่ป้องกันและหลีกเลี่ยงง่ายที่สุดโรคหนึ่ง เพียงแต่เราต้องปฏิบัติตัวเชิงรุก (Proactive) คือ เฝ้าสังเกต ระมัดระวัง และพร้อมที่จะรับมือตลอดเวลา ทั้งหมดก็เนื่องมาจาก ความอันตรายของโรคหัวใจ ที่มักไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้านั่นเอง

แหล่งข้อมูล:

  1. สธ.เตือนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อากาศเย็นเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน http://www.naewna.com/local/34330 [2013, January 4].
  2. Why Your Heart Attack Risk May Increase This Winter. http://articles.mercola.com/sites/articles/archive/2010/09/11/why-your-heart-attack-risk-may-increase-this-winter.aspx [2013, January 4].