อากาศร้อนเกิน เผชิญอันตราย (ตอนที่ 3)

แพทย์หญิง พรภุชงค์ เลาห์เกริกเกียรติ โรงพยาบาลพญาไท 3 เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูร้อนที่เป็นช่วงปิดเทอม จะเป็นช่วงของการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการเที่ยวทะเล ควรต้องระมัดระวังเรื่องภาวะผิวไหม้แดด โดยเฉพาะในเด็กและในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสียงสูงจากโรคลมแดด (Heat stroke)

โรคนี้เกิดจากการที่อยู่ในแสงแดดหรือได้รับความร้อนเป็นเวลายาวนาน จนทำให้เกิดการสูญเสียน้ำมาก และการระบายเหงื่อที่ผิวหนังไม่ดี จนเกิดการสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ในกรณีอาการไม่รุนแรงอาจจะมีความรู้สึกร้อน กระสับกระส่าย ตามัว กระหายน้ำ ผิวหนังแห้ง ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้อาเจียน แต่ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจจะเป็นลมหมดสติหรือชักได้

ในสิ่งแวดล้อมที่มีทั้งความร้อนและความชื้น (Humidity) ต้องเข้าใจว่า ความชื้นช่วยระดับที่ร่างกายจะสูญเสียความร้อนโดยการระเหย (Evaporation) ในสภาวะเช่นนั้น การสวมใส่เสื้อผ้าที่เบาบาง อาทิ ผ้าฝ้ายที่มีสีสันสว่าง จะช่วยแผ่ซ่าน (Pervious) หยาดเหงื่อ แต่ไม่แผ่ซ่านรังสีความร้อนจากแสงแดด ทำให้การระเหยเกิดขึ้นเท่าที่สิ่งแวดล้อมจะเอื้ออำนวย

ส่วนเสื้อผ้าที่ทำด้วยเส้นใยพลาสติก (Plastic fabrics) ไม่อาจแผ่กระจาย (Impermeable) หยาดเหงื่อ และไม่เอื้ออำนวยการสูญเสียความร้อนผ่านการระเหย อันจะนำไปสู่ความเครียดจากความร้อน (Heat stress)

ในอากาศร้อน จำเป็นต้องดื่มน้ำมากๆ เพื่อทดแทนการสูญเสียหยาดเหงื่อ ความกระหายมิได้เป็นสัญญาณที่ดีของความต้องการน้ำ ดัชนีชี้วัดที่ดีกว่าคือสีของปัสสาวะ โดยเฉพาะสีเหลืองเข้มอาจหมายถึงภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า น้ำดื่มเพื่อการกีฬา (Sports drink) มีประสิทธิผลในการทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกายหรือไม่

อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำเปล่าที่ปราศจากเกลือโซเดียม (Sodium) เข้าสู่ร่างกาย จะนำไปสู่อาการที่มีเกลือโซเดียมต่ำ (Hyponatremia) ซึ่งเป็นสาเหตุการตายกะทันหันของหัวใจล้ม (Heart attack) การเหงื่ออก และถ่ายปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียทั้งน้ำและเกลือโซเดียม ซึ่งต้องได้รับการทดแทนด้วยทั้งน้ำ และเกลือโซเดียม เช่นกัน

องค์การบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Safety and Health Administration: OSHA) ในสหรัฐอเมริกา ได้จัดทำบัตรแข็งข้อมูลหลัก (Quick card) ว่าด้วยความเครียดจากความร้อน (Heat stress) ซึ่งประกอบด้วยรายชื่อตรวจสอบ (Checklist) ที่ระบุถึงวิธีการป้องกันควาเครียดจากความร้อนไว้ ดังนี้

  • สัญญาณหรือกลุ่มอาการที่ทราบของการเจ็บป่วยจากความร้อน
  • ปกป้องแสงแดดที่ส่องโดยตรง หรือจากแหล่งความร้อนอื่น
  • ใช้เครื่องช่วยให้เกิดความเย็น อาทิ พัดลม และเครื่องปรับอากาศ แล้วพักผ่อนอย่างสม่ำเสมอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • สวมใส่เสื้อผ้าน้ำหนักเบา สีสว่าง อย่างหลวมๆ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มกาเฟอีน หรือ รับประทานอาหารมื้อหนัก

แหล่งข้อมูล:

  1. "หน้าร้อน" ระวังโรคลมแดด http://www.komchadluek.net/detail/20120424/128717/หน้าร้อนระวังโรคลมแดด.html [2012, April 28].
  2. Heat illness. http://en.wikipedia.org/wiki/Heat_illness [2012, April 28].