อากาศที่ไม่เป็นมิตร (ตอนที่ 3)

อากาศที่ไม่เป็นมิตร-3

      

      มลพิษทางอากาศสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

      - มลพิษทางอากาศภายนอก (Outdoor air pollution) ได้แก่ มลพิษที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอกบ้านหรืออาคาร เช่น ฝุ่นละเอียด ซึ่งเป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) เช่น

  • ฝุ่นละเอียดที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่ได้จากการหมักทับถมกันของสารอินทรีย์ทั้งจากพืชและสัตว์เป็นระยะเวลายาวนาน (Fossil fuels) เช่น ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม (Petroleum) เป็นต้น
  • ก๊าซพิษ (Noxious gases) เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) สารเคมีระเหย เป็นต้น
  • โอโซนระดับต่ำ (Ground-level ozone) หรือหมอก (Smog)
  • ควันจากยาสูบ (Tabacco Smoke)

      - มลพิษทางอากาศภายใน (Indoor air pollution) ได้แก่ มลพิษที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายในบ้านหรืออาคาร เกิดจากฝุ่น อนุภาคที่สามารถฟุ้งกระจาย ปลิว หรือ ลอยอยู่ในอากาศได้ (Particulates) เช่น

  • ก๊าซ
  • ของใช้ในครัวเรือนและสารเคมี
  • วัสดุอาคาร (Building materials) เช่น แร่ใยหิน (Asbestos) ฟอร์มาลีน (Formaldehyde) สารตะกั่ว (Lead) เป็นต้น
  • สารก่อภูมิแพ้ เช่น ขี้แมลงสาบ ขี้หนู เป็นต้น
  • ควันจากยาสูบ (Tabacco Smoke)
  • เชื้อรา (Mold) และละอองเกสร (Pollen)

      หรืออาจแบ่งสารมลพิษได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

      - สารมลพิษปฐมภูมิ (Primary pollutants) เช่น ขี้เถ้าจากการระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic eruption) ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ หรือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกจากโรงงานอุตสาหกรรม

      - สารมลพิษทุติยภูมิ (Secondary pollutants) ที่ไม่ใช่สารมลพิษที่เกิดขึ้นโดยตรง แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในอากาศเมื่อสารมลพิษปฐมภูมิทำปฏิกริยา (Interact) เช่น

  • ฝุ่นที่เกิดจากสารมลพิษปฐมภูมิและหมอกควันแบบโฟโตเคมี (Photochemical smog) ที่เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหิน การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และทำปฏิกริยากับแสงอัลตราไวโอเล็ตจนกลายเป็นสารมลพิษทุติยภูมิ
  • โอโซนระดับต่ำ (Ground level ozone = O3) ที่ทำให้เกิด NOx และ VOCs
  • Peroxyacetyl nitrate (C2H3NO5)

      อย่างไรก็ดี บางตัวก็เป็นได้ทั้งสารมลพิษปฐมภูมิและสารมลพิษทุติยภูมิ เพราะเกิดขึ้นได้โดยตรงและเกิดได้จากการทำปฏิกริยา

แหล่งข้อมูล:

  1. Air pollution. https://en.wikipedia.org/wiki/Air_pollution [2018, March 9].
  2. Air Pollution. https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000020336 [2018, March 9].