อาการวิงเวียนศีรษะ (Dizzy หรือ Dizziness หรือ Vertigo/มักใช้เมื่อมีอาการรู้สึกหมุนร่วมด้วย) เป็นอาการทางระบบประสาทที่พบบ่อย รองลงมาจากอาการปวดศีรษะ บางคนมีอา การ “วิงเวียน มึนงง หนักศีรษะ เซเล็กน้อย (เมื่อลุกขึ้น หรือเมื่อเดิน) เรียกอาการลักษณะนี้ว่า Dizzy หรือ Dizziness” บางคนมี ”อาการวิงเวียน ร่วมกับรู้สึกว่าสิ่งรอบตัวหมุน หรือ ตัวหมุน บ้านหมุน หรือเพดานบ้านจะถล่มลงมาทับที่ร่างกาย อาการลักษณะนี้เรียกว่า อาการรู้สึกหมุน หรือ อาการหมุน (Vertigo)” บางคนมีอาการ วิงเวียน ร่วมกับ อาเจียน หูอื้อ มีเสียงดังในหู (Tinnitus) ซึ่งอาการผิดปกติเหล่านี้ มีสาเหตุจากอะไร จะดูแลตนเองเบื้องต้นอย่างไร และเมื่อ ไหร่ควรพบแพทย์ บทความนี้จะให้คำตอบกับคุณครับ
อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นอาการ ไม่ใช่โรค กล่าวคือ เป็นอาการผิดปกติทางระบบประ สาทอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าวิงเวียน มึนงง หนักศีรษะ เวลาลุกขึ้นอาจเซเล็กน้อย หรือเซรุน แรง จนรู้สึกว่าตนเองหมุน บ้านหมุน สิ่งแวดล้อมหมุน ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นเพียงความรู้สึก ไม่ ได้เกิดขึ้นจริง ผู้ป่วยบางคนจะมีอาการ หูอื้อ มีเสียงดังในหู หรือบางคนบอกว่ามีลมออกหู บางคนที่มีอาการรุนแรงจะอาเจียน เดินเซมาก ลุกไม่ขึ้น
อาการวิงเวียนศีรษะ มีสาเหตุที่พบบ่อยและควรทราบดังนี้
นอกจากนี้ ระบบประสาทการได้ยินและการทรงตัวของหูนี้ ยังทำงานร่วมกับระบบการมอง เห็น (เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2) โดยร่วมกันทำหน้าที่เพื่อการทรงตัว จึงเป็นเหตุให้การหลับตา- ลืมตามีผลต่อการทรงตัวด้วย
คำถามนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะเป็นการตัดสินใจว่า ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เร็วเท่าใด
อาการวิงเวียนศีรษะไม่ว่าจะเป็นเพียงแค่อาการวิงเวียน (Dizziness) และ/หรืออาการหมุน (Vertigo) มีสาเหตุที่พบบ่อย คือ
แพทย์สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุอาการวิงเวียนศีรษะได้จาก ประวัติอาการเบื้องต้นที่ผู้ ป่วยเล่าให้ฟังตามข้อข้างต้น ต่อจากนั้นแพทย์จะตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติทางระบบประ สาทร่วมด้วยหรือไม่ ถ้าพบก็บอกได้ว่าเป็นโรคทางสมอง
การตรวจที่แพทย์จะต้องตรวจในผู้ป่วยทุกราย ได้แก่ การทดสอบการทำงานของสมองน้อย (Cerebellum) เช่น การดูว่าผู้ป่วยมีตากระตุก (Nystagmus) หรือไม่ ถ้าเปิดเปลือกตา/หนังตาผู้ป่วยแล้วพบว่าตาผู้ป่วยมีตากระตุกชัดเจน ก็น่าจะมีสาเหตุโรคในสมอง แต่ถ้าพบตากระตุกเป็นบางลักษณะ เช่น เฉพาะเมื่อให้มองซ้ายหรือขวา ก็อาจเป็นได้ทั้งสาเหตุในสมอง หรือ นอกสมอง ขึ้นอยู่การผิดปกติในระบบอื่นๆ เช่น อาการทางระบบประสาท (เช่น ปากเบี้ยว เป็นต้น)
นอกจากนี้ แพทย์จะให้ผู้ป่วยนำนิ้วชี้มาแตะที่นิ้วของแพทย์ และกลับไปแตะจมูกผู้ป่วย (Finger to nose test) ถ้าผู้ป่วยทำไม่ได้ จะบ่งบอกว่า น่าจะมีรอยโรคในสมอง แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรู้สึกหมุนร่วมด้วย การตรวจวิธีนี้ก็อาจให้ผลผิดพลาดได้ และ
แพทย์จะตรวจสืบค้นเพิ่มเติมด้วย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง หรือ เอมอาร์ไอสมองเมื่อ แพทย์พิจารณาแล้วสงสัยว่ามีความผิดปกติในสมอง ก็จะส่งตรวจดังกล่าวเพื่อเป็นการยืนยันการวินิจฉัยของแพทย์ แต่ถ้าแพทย์คิดถึงโรคนอกสมอง ก็จะพิจารณาตรวจการได้ยินและการตรวจเลือดอื่นๆ ตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆไป เช่น ตรวจระดับน้ำตาล (ดูโรคเบาหวาน) และระดับไขมัน (ดูโรคไขมันในเลือดสูง) เป็นต้น
โดยทั่วไป เมื่อมีอาการวิงเวียนศีรษะและ/หรืออาการรู้สึกหมุน ถ้าพิจารณาอาการเบื้อง ต้นว่าเป็นโรคสมอง ควรรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด/ทันที ไม่ต้องคำนึงว่าเป็นแพทย์เฉพาะทางหรือไม่ ควรคิดอย่างเดียวว่าให้ไปถึงโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด แต่ถ้าอาการน่าเป็นจากสา เหตุนอกสมอง แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปก็สามารถดูแลผู้ป่วยได้ ซึ่งถ้าแพทย์ที่ตรวจผู้ป่วยในทั้ง 2 กรณี พิจารณาแล้วว่า ดูแลผู้ป่วยไม่ได้ แพทย์ก็จะส่งต่อผู้ป่วย พบแพทย์เฉพาะทางต่อไป เช่น แพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์ระบบประสาท แพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก เป็นต้น
การรักษาอาการวิงเวียนศีรษะและ/หรือ อาการรู้สึกหมุน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
ทั้งนี้ ระยะเวลาในการรักษาผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกัน ขึ้นกับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ กรณีที่ยังมีอาการผิดปกติ วิงเวียน/รู้สึกหมุนตลอดเวลา ก็ต้องได้รับยาแก้ไขบรรเทาอาการดังกล่าวจนกว่าอาการจะดีขึ้น ส่วนในเรื่องของสาเหตุ ถ้าเป็นโรคที่แก้ไขรักษาหายได้ การรักษาก็แล้วเสร็จเมื่อหายดี (เช่น ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ขึ้นกับสาเหตุ เป็นต้น) แต่บางโรคที่ต้องป้องกันการเป็นซ้ำ ก็ต้องมีการรักษาต่อเนื่อง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
การดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการวิงเวียนศีรษะและ/หรือ อาการรู้สึกหมุน ที่สำคัญ คือ
อนึ่ง ผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนศีรษะหรืออาการรู้สึกหมุนนั้น ขณะที่ทำการเปลี่ยนท่าทาง ควรเปลี่ยนท่าทางอย่างช้าๆ ไม่ควรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และกรณีมีอาการเฉพาะการเปลี่ยนท่า ทางใดท่าทางหนึ่งนั้น ห้ามเลี่ยงการเปลี่ยนท่าทางนั้น เพราะมีผู้ป่วยบางรายมีอาการหมุนเฉพาะหันหน้าไปทางซ้ายเท่านั้น ก็เลยไม่ยอมหันหน้าไปทางซ้าย การรักษาที่ถูกต้องนั้นคือ ต้องพยายามฝึกการหันหน้าไปทั้งสองข้างอย่างช้าๆ อาการฯจึงจะดีขึ้น
นอกจากนี้ ห้ามการออกแรงเบ่งอย่างแรงบ่อยๆ เช่น เบ่ง อุจจาระ ปัสสาวะ เพราะอาจส่ง ผลให้เกิดโรคในช่องหูชั้นกลางและชั้นใน (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง กายวิภาคของหู) จากมีการเพิ่มความดันในช่องหูจากการเบ่งนั้นๆได้ และ ห้ามอดนอน
ผู้ป่วยที่มีอาการหมุนหรือวิงเวียนนั้น ไม่มีอาหารต้องห้าม ยกเว้นมีโรคประจำตัวอื่นๆที่ต้องควบคุมอาหารโดยเฉพาะ เช่น โรคระบบประสาทการทรงตัวในช่องหู แพทย์อาจแนะนำให้ทานอาหารรสเค็ม (ถ้าไม่มีข้อห้ามเรื่องโรคความดันโลหิตสูง) เป็นต้น ดังนั้นการดูแลตนเองที่สำคัญเพิ่มเติมเมื่อได้พบแพทย์แล้ว คือ
การพยากรณ์โรค หรือผลการรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ/การรู้สึกหมุน ส่วนใหญ่ถ้าทราบสาเหตุและรักษาได้ถูกต้องก็ได้ผลดี มีโอกาสเกิดซ้ำได้แตกต่างกัน ขึ้นกับสาเหตุและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่จะหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงในกรณีสาเหตุเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
อนึ่ง กรณีสาเหตุจากโรคระบบประสาทในช่องหูนั้น มีโอกาสเป็นโรคอัมพาตต่ำมากๆ ยก เว้นเกิดภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ที่รุนแรง เช่น โรคหูน้ำหนวกและเกิดการติดเชื้อลุกลามไปถึงสมอง แต่โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะมีปัญหาการได้ยินตามมาเสมอ
ส่วนกรณีสาเหตุจากโรคสมองนั้น มีโอกาสสูงที่จะเป็นอัมพาต จึงต้องรีบให้การรักษาที่ถูกต้องทันเวลา
การป้องกันอาการวิงเวียนศีรษะ และ/หรือ อาการรู้สึกหมุนนั้น
กรณีเป็นโรคในสมอง ที่ป้องกันหรือลดโอกาสเกิดอาการฯได้ คือ จากโรคหลอดเลือดสมอง โดยการ
นอกจากนั้น วิธีป้องกันอื่นๆ คือ
อาการวิงเวียนศีรษะ และ/หรืออาการรู้สึกหมุน เป็นอาการที่ท่านสามารถดูแลตนเองเมื่อมีอาการฯได้เป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อมีอาการฯที่บ่งว่ามีโรคในสมอง ควรต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที