อัมพฤกษ์อัมพาต (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

อัมพฤกษ์อัมพาต

อัมพาตทำให้มีผลต่อระบบอื่นๆ ของร่างกาย (ต่อ)

  • เป็นแผลกดทับ
  • มีอาการบวมน้ำ (Edema)
  • เกิดการแข็งตัวของเลือด (Blood clots) ที่ขา
  • รู้สึกชา ไม่มีความรู้สึก หรือปวด
  • ผิวหนังเป็นแผล
  • ติดเชื้อแบคทีเรีย
  • การทำงานของเนื้อเยื่อ ต่อม และอวัยวะไม่ปกติ
  • ท้องผูก
  • เหงื่อออกผิดปกติ
  • การหายใจหรือหัวใจเต้นผิดปกติ
  • มีปัญหาเรื่องการทรงตัว
  • มีปัญหาเรื่องการคิด
  • พูดหรือกลืนลำบาก
  • มีปัญหาด้านสายตา

ส่วนใหญ่อาการอัมพาตจะแสดงให้เห็นได้ชัดเจน แต่หากต้องการการทดสอบเพื่อช่วยในการวิเคราะห์โรคแล้ว สามารถทำได้ด้วยการ

  • เอกซเรย์
  • ซีทีสแกน
  • เอ็มอาร์ไอ
  • การตรวจระบบประสาทไขสันหลัง (Myelography)
  • การตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (Electromyography)

ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอัมพาตได้ กรณีที่เป็นอัมพาตถาวรจะมีเป้าหมายในการรักษาดังนี้

  • ทำให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองได้มากที่สุด โดยใช้เครื่องมือช่วยเหลือผู้ที่ป่วยเป็นอัมพาต เช่น การใช้กายอุปกรณ์เสริม (Orthosis) การใช้เก้าอี้รถเข็น (Wheelchair) ซึ่งมีทั้งแบบใช้มือหรือใช้ไฟฟ้า และมีการเปลี่ยนท่านั่งอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุก 15-30 นาที
  • จัดการกับอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการเป็นอัมพาต เช่น แผลกดทับ (Pressure ulcers) โดยทำการพลิกตัวผู้ป่วยอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุก 2 ชั่วโมง
  • จัดการกับปัญหาการถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
  • รักษาอาการบีบเกร็งและอาการแทรกซ้อน (Spasms and complications) ที่เกิดขึ้นจากการเป็นอัมพาต

แหล่งข้อมูล

1. Paralysis. http://www.nhs.uk/Conditions/paralysis/Pages/Introduction.aspx[2016, April 30].

2. Signs and symptoms of paralysis. http://www.brainandspinalcord.org/spinal-cord-injuries/signs-and-symptoms-paralysis.html [2016, April 30].