อย่าตกใจ ไข้หวัดหมู (ตอนที่ 7 และตอนสุดท้าย)

อนุสนธิข่าวจากวันก่อน นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 ในประเทศไทยกับเม็กซิโกแตกต่างกัน โดยที่ประเทศเม็กซิโก มีโอกาสเกิดการระบาดได้ เนื่องจากเชื้อยังไม่แพร่กระจายในวงกว้างและประชาชนยังมีภูมิต้านทานน้อย แต่ในประเทศไทย โรงพยาบาลทุกแห่ง มีวัคซีนป้องกัน และมียารักษา

สำหรับผู้ที่มีเพียงไข้ต่ำๆ และไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่น ไม่ควรกินยาลดไข้เลย เพราะ คนส่วนใหญ่สามารถฟื้นตัวจากอาการไข้ได้เองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องพึ่งวิธีการทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำอาจต้องเข้ารับการรักษาเพิ่มเติม

ในปัจจุบันมีหลายวิธีที่ผู้ป่วยปฏิบัติได้รับการแนะนะเพื่อบรรเทาอาการของโรคไข้หวัดหมู (Swine flu) รวมทั้งการดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ มียาแก้ปวดที่ซื้อมากินเอง อาทิ พาราเซตามอล (Paracetamol) และไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัส A H1N1 ได้ แต่ก็อาจช่วยลดอาการของโรคได้

แต่ไม่แนะนำให้กินแอสไพริน (Aspirin) โดยเฉพาะ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการรายส์ (Reye's syndrome) ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับยาต้านไวรัส ไวรัสชื่อโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) [ซึ่งมีชื่อการค้าว่า ทามิฟลู (Tamiflu)] ทันทีที่ผู้ป่วยแสดงอาการไข้หวัดใหญ่เป็นครั้งแรก

ยาต้านไวรัสจะเป็นประโยชน์มากที่สุดหากให้ผู้ป่วยกินภายใน 48 ชั่วโมงหลังเริ่มแสดงอาการของโรค และอาจช่วยบรรเทาอาการได้ในผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล สำหรับผู้ที่มีอาการปานกลางหรือร้ายแรง หากให้ภายหลัง 48 ชั่วโมง ยาต้านไวรัสอาจมีประสิทธิผลลดลง

สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงแต่มีอาการคงที่หรือทรุดลงเรื่อยๆ อาทิ หายใจลำบาก และมีไข้ขึ้นสูงซึ่งกินเวลานานกว่า 3 วัน ควรได้รับยาต้านไวรัสเช่นกัน สำหรับผู้มีอาการปอดอักเสบควรได้รับทั้งยาต้านไวรัสและยาปฏิชีวนะ เช่นเดียวกับในผู้ป่วยรุนแรงซึ่งติดเชื้อไวรัส A H1N1 ในหลายกรณี จะมีการติดเชื้อแบคทีเรียด้วย

เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนยาโอเซลทามิเวียริ์ (ทามิฟลู) ศูนย์การควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) แนะนำว่า การรักษาโดยยาดังกล่าว ควรจะใช้เฉพาะผู้รับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยไข้หวัดใหญ่ระบาดเป็นหลัก และผู้ป่วยซึ่งเสี่ยงต่อภาวะไข้หวัดใหญ่แทรกซ้อนร้ายแรง

CDC เตือนว่า การใช้ยาต้านไวรัส A H1N1 โดยไม่แบ่งแยกว่าใช้เพื่อป้องกันหรือรักษาโรค อาจทำให้เกิดสายพันธุ์ดื้อยา ซึ่งทำให้การรับมือกับการระบาดทั่วเป็นไปได้ยากขึ้น นอกจากนั้น รายงานจากประเทศอังกฤษพบว่า คนส่วนมากมักไม่ได้รับยาตามกำหนด หรือได้รับการรักษาโดยไม่มีความจำเป็น

ในการใช้ยาต้านไวรัสดังกล่าว อาจมีผลข้างเคียง รวมทั้งอาการหน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และหายใจลำบาก นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าเด็กอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการก่อปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ เช่น การทำร้ายตนเอง และภาวะมึนงงหลังจากได้รับโอเซลทามิเวียร์ (ทามิฟลู) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ยังได้ออกมาเตือนมิให้ซื้อยาต้านไวรัสจากตลาดออนไลน์ เนื่องจากประมาณการกันว่า ครึ่งหนึ่งของยาดังกล่าวจำหน่ายโดยร้านยาออนไลน์ ซึ่งไม่มีที่อยู่ปรากฏชัดเจน [ไม่มีชื่อแพทย์หรือเภสัชกร] และเป็นร้านปลอม

แหล่งข้อมูล:

  1. สธ. ชี้หวัดใหญ่ 2009 ในเม็กซิโก ไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่ ยันคนไทย 50% มีภูมิคุ้มกัน http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000010708 [2012, February 2].
  2. การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 http://th.wikipedia.org/wiki/การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่_2009 [2012, February 2].