อยู่กับผู้สูงวัย อย่างเข้าใจโรคสมองเสื่อม (ตอนที่ 3)

โรคสมองเสื่อมซึ่งค่อยเป็นค่อยไป (Slowly progressive dementia) และแย่ลงโดยใช้เวลาแรมปี มักเกิดโรคประสาทเสื่อม (Neurodegenerative disease) ซึ่งมีผลกระทบต่อเฉพาะเซลล์ประสาทสมองอย่างเดียวหรือเป็นส่วนใหญ่ และทำให้ค่อยๆ สูญเสียการทำงานของเซลล์เหล่านี้

ที่พบได้ไม่บ่อยนักคือไม่มีอาการเสื่อม แต่มีผลทุติยภูมิ (Secondary effect) ต่อเซลล์สมอง ซึ่งอาจรักษากู้คืนได้ (Reversible) สาเหตุของโรคสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับช่วงอายุที่เริ่มเป็น ในผู้สูงวัย (อายุมากกว่า 65 ปี) มักมีสาเหตุจากโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s) โรคสมองเสื่อมจากการขาดเลือด (Vascular dementia) ทั้งสองอย่าง หรือมีสาเหตุร่วมหนึ่งอย่าง

บางครั้ง อาการภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) ทำให้ค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ (Cognition) แต่ก็จะสามารถรักษาให้กลับคืนมาได้ ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus) จะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่หากสำรวจพบได้เร็ว การรักษาก็จะช่วยยับยั้งความสูญเสียที่จะมากขึ้น

โรคสมองเสื่อมพบได้ในผู้อายุต่ำกว่า 65 ปี ไม่บ่อยเท่าผู้สูงวัย โรคอัลไซเมอร์ก็ยังเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด และส่งผลให้เมื่อถึงวัย 65 ผู้ป่วยเหล่านี้ก็จะช่วยเพิ่มประชากรของโรคกลีบสมองส่วนหน้าเสื่อม (Frontotemporal lobar degeneration)

โรคสมองเสื่อมจากภาวะหลอดเลือด อาจเป็นผลจากเหตุพื้นฐาน เช่น ผู้ซึ่งได้รับการกระทบกระเทือนรุนแรงที่ศีรษะบ่อยๆ เช่นนักมวยหรือนักฟุตบอล [อเมริกัน] ก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดเลือดจากโรคเนื้อเยื่อสมองเสื่อมรุนแรงเรื้อรัง (Chronic traumatic encephalopathy) ที่วงการนักมวยเรียกว่า Dementia pugilistica [pugilist=นักมวย]

ไม่ค่อยพบโรคสมองเสื่อมในคนวัยต่ำกว่า 40 ปี หากจะมี ก็เกิดจากสาเหตุการป่วยทางจิต (Psychiatric) สุรา ยาเสพติด ในคนทุกวัย ผู้ป่วยที่บ่นว่าความจำแย่ลงหรือมีปัญหาการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ มักมีสาเหตุจากความซึมเศร้า (Depression) การขาดวิตามิน หรือการติดเชื้อ (Infection) บ่อยๆ มากกว่าเซลล์สมองเสื่อมจริงๆ

โรคที่ปรกติวิวัฒนาช้าๆ เช่นอัลไซเมอร์ และโรคกลีบสมองส่วนหน้าเสื่อม ก็อาจวิวัฒนารวดเร็วได้ (Rapidly progressive dementia) ภายในหนึ่งสัปดาห์หรือหนึ่งเดือน นอกจากนี้ยังมีอาการระบบประสาทอีกหลายอย่าง ที่จะพบโรคสมองเสื่อมได้ในระยะหลังๆของอาการป่วย เช่นในผู้ป่วยโรคประสาทอาการสั่น/พาร์กินสัน (Parkinson) ก็มีการเปิดเผยว่ามีวิวัฒนาการโรคสมองเสื่อมในหลากหลายรูปแบบ

ในทางตรงข้าม โรคที่ปรกติวิวัฒนาเร็ว เช่น โรคสมอง (Encephalopathy) หรืออาการเพ้อ (Delirium) ก็อาจวิวัฒนาช้าและคล้ายคลึงกับโรคสมองเสื่อม (Dementia) ซึ่งอาจเกิดจากการที่สมองติดเชื้อ เนื้องอก (Tumor) เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) และเนื้องอกสมอง (Glioma) การรับได้รับพิษ (Toxicology) จากยาบางประเภท เช่นยากันชัก (Anticonvulsant) การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการสันดาป (Metabolism) เช่น ตับวาย หรือไตวาย และภาวะเลือดตกในสมอง (Subdural hematoma)

เช่นเดียวกับผู้ป่วย โรคกลีบสมองส่วนหน้าเสื่อม ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มักสูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ เนื่องจากการเสื่อมบริเวณเหนือนิวเคลียส (Progressive supra-nuclear palsy) และของฐานของเปลือกสมองเสื่อม (Corticobasal degeneration) และการที่สมองอับเสบเรื้อรัง จะส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ในระยะยาว

แหล่งข้อมูล:

  1. Dementia. http://en.wikipedia.org/wiki/Dementia [2012, May 4].