อย. คุมเข้ม เภสัชเคมีภัณฑ์ (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

ในปลายปี พ.ศ. 2533 ถึงต้นปี พ.ศ. 2543 มีการระบาดของยาวัตถุออกฤทธิ์เหล่านี้โดยซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง โดยมีการใช้ศัพท์เคมีภัณฑ์ เพื่ออ้างว่าขายเคมีสำหรับค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ มากกว่าการบริโภคของคน เป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายของสหรัฐอเมริกา

ในปี พ.ศ. 2547 หน่วยงานควบคุมยาของสหรัฐอเมริกา (Drug Enforcement Administration) ได้เริ่มปิดช่องทางการจำหน่ายสารเคมีทางอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Web Tryp จากการร่วมมือของรัฐบาลจีนและอินเดีย โดยมีผู้ผลิตเคมี 2 รายได้ถูกปิด และผู้ค้าอื่นก็หยุดการธุรกรรมดังกล่าว แม้ว่าสินค้าที่เคยขายไปแล้วยังคงแพร่หลายในตลาดทั่วโลก

ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2533 ถึงต้นปี พ.ศ. 2543 ได้มีการใช้ยาพวก Anabolic steroids อย่างแพร่หลายในการแข่งขันกรีฑา จนกระทั่งสเตียรอยด์ได้ถูกห้ามใช้โดยคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา แต่ความสามารถของห้องทดลอง (Laboratory) ที่จะทดสอบยาทั้งหมดมักล้าหลังความสามารถชองนักกีฬาในการแสวงหาสารประกอบใหม่ๆ มาใช้

หลังการก่อตั้งองค์การ (World Anti-Doping Agency) ในปี พ.ศ. 2542 มีการเพิ่มขีดความสามารถในการทดสอบใหม่ๆ ทำให้ยากขึ้น สำหรับนักกรีฑาที่จะใช้ยาเหล่านี้โดยปราศจากการตรวจสอบได้ แต่ก็นำมาซึ่งการสังเคระห์อนาโบลิคสเตียรอยด์ที่มีชื่อ tetrahydrogestrinone (THG) ซึ่งสามารถเล็ดลอดการทดสอบได้

ระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึง ปี พ.ศ. 2554 วัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ได้แก่ ฝิ่น ยาหลอนประสาท และ อนาโบลิคสเตียรอยด์ ยาสร้างกล้ามเนื้อ แต่ปัจจุบันได้มียาวัตถุออกฤทธิ์มากมาย เป็นยากลุ่มยานอนหลับ ยากลุ่ม Sildenafil (Viagra) ซึ่งมีรายงานว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในผลิตภัณฑ์สมุนไพร (aphrodisiac) และอาหารกระตุ้นความต้องการทางเพศ

มียาอีกตัวหนึ่งที่ใช้ในเครื่องสำอางแต่ยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ในเครื่องสำอาง ขายอยู่แต่ในตลาดมืด (Grey market) และแพร่หลายทางอินเทอร์เน็ต ชื่อ alpha-melanocyte-stimulating-hormone tanning หรือ อีกชื่อหนึ่งว่า melanotan peptides ซึ่งแต่อาจไม่ตรงกับข้อบ่งชี้ (Mis-labelled) และยากแก่การควบคุม

สารเคมีที่สังเคราะห์เหล่านี้ มีการศึกษาความปลอดภัยน้อยมาก หรือไม่มีเลย ทั้งในเรื่องความเป็นพิษและเภสัชวิทยา ส่วนการศึกษาในคนและสัตว์ก็น้อยมาก ในขณะที่สารหลายตัวมีผลข้างเคียงที่ไม่คาดคิด และมีอุบัติการณ์อื่นๆ อันเนื่องมาจากการขาดการติดตาม

กฎหมายที่ห้ามหรือควบคุมการใช้ยาใหม่ๆ ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร สหรัฐอเมริกาได้พยายามห้ามใช้ยาเหล่านี้ โดยประกาศให้การผลิตและขายยาเหล่านี้เป็นการผิดกฎหมาย หรือจัดกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์คล้ายกันให้อยู่ในกลุ่ม I หรือ II เพื่อควบคุม ส่วนในประเทศอื่นๆ เช่น เยอรมัน สหราชอาณาจักร สวีเดน ยาใหม่ดังกล่าวจะถูกห้ามจำหน่าย ถ้ายังมีการสงสัยในเรื่องความปลอดภัยอยู่

ที่กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างที่มาของวัตถุออกฤทธิ์ รวมทั้งกฎระเบียบที่จะมาควบคุมยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งในประเทศไทยเราได้มีความพยายามที่จะควบคุมการจำหน่าย จ่ายแจก เพื่อลดจำนวนผู้ท่ติดยากลุ่มนี้ลง

แหล่งข้อมูล:

  1. อย.เข้มออกมาตรการควบคุมเภสัชเคมีภัณฑ์นำมาใช้ผลิตยา - http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000052159&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2013, May 13].
  2. Designer drugs - http://en.wikipedia.org/wiki/Designer_drug [2013, May 13].