อย. คุมเข้ม เภสัชเคมีภัณฑ์ (ตอนที่ 1)

กระทรวงสาธารณสุข โดย นายแพทย์ ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีที่วัตถุดิบพาราเซตามอล จากแหล่งผลิตบางแห่ง ที่ขายให้องค์การเภสัชกรรม เพื่อผลิตยา มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพ และมีการต้องส่งคืนให้กับผู้นำเข้า

กระทรวงสาธารณสุขขอให้ประชาชนมั่นใจว่า ทางกระทรวงฯ ได้มีมาตรการควบคุมเภสัชเคมีภัณฑ์ เพื่อนำมาใช้ผลิตยาอย่างเข้มงวด โดยมีกฎกระทรวงที่กำหนดว่า ต้องจดแจ้งรายการที่ผลิตหรือนำเข้าต่อ อย.โดยให้นำเข้ามาได้เฉพาะที่ด่านนำเข้าที่ อย.กำหนด เพื่อการตรวจสอบอย่างเข้มข้น

ส่วนที่กังวลว่าอาจมีการลักลอบไปขายต่อให้ผู้ผลิตรายอื่นในราคาถูก เพื่อนำไปผลิตยาที่ไม่ได้คุณภาพนั้น ทาง อย.ไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงได้ออกประกาศสำนักงานฯ เพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยกำหนดหน้าที่ของผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับเภสัชเคมีภัณฑ์ที่เป็นสารออกฤทธิ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ต้องจัดทำบัญชี

ในบัญชีดังกล่าว ต้องแสดงปริมาณการผลิตนำเข้า การขาย การรับคืน และปริมาณคงเหลือในคลังสินค้า โดยแจ้งให้ อย.ทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการส่งคืน ตลอดจนให้ระงับการผลิต ขาย หรือนำเข้าเภสัชเคมีภัณฑ์ที่มีส่งคืนดังกล่าว รวมทั้งให้ผู้ซื้อหยุดการใช้เภสัชเคมีภัณฑ์ที่มีการส่งคืนดังกล่าวด้วยทุกราย

การที่การะทรวงสาธารณสุขต้องมีการเข้มงวดเกี่ยวกับเภสัชเคมีภัณฑ์ เนื่องจากมีการมีการนำเข้าเคมีภัณฑ์แล้วนำไปผลิตเป็นสารต้องห้าม พวกวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Designer drug) ได้ สารดังกล่าว มักใช้ผลิตหรือทำตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงกฎระเบียบของกฎหมายยา

ปกติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทจะมีโครงสร้างคล้ายกับยาที่มีอยู่จริง โดยดัดแปลงโครงสร้างทางเคมี หรือมีโครงสร้างที่แตกต่างกันเลยแต่ให้ผลคล้ายคลึงกัน เป็นยาที่ผิดกฎหมาย โดยยาเหล่านี้ถูกขายในตลาดมืด (Grey market) เพราะมีกฎระเบียบน้อยกว่าหรือไม่มีเลย

ในที่ประชุมฝิ่นนานาชาติ ครั้งที่ 2 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2468 ได้มีการตกลงกันว่า ห้ามจำหน่าย มอร์ฟีน (Morphine) เฮโรอีน (Heroin) และอนุพันธุ์ของมอร์ฟีน ในปี พ.ศ. 2473 จึงได้มีกฎระเบียบที่ควบคุมอนุพันธุ์ทั้งหมดของมอร์ฟีน ซึ่งทศวรรษ 1930 (ประมาณ พ.ศ. 2473) ได้มีการจับปรับการจำหน่ายยานี้ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผิดกฎหมายในหลายประเทศ

ในช่วงปี พ.ศ. 2503-2513 ได้มีการนำยาหลอนประสาทใหม่ๆ เสนอสู่ตลาด ที่เด่นชัดคือยาเม็ด DOM (2,5-dimethoxy-4-methyl-amphetamine) ที่ซาน ฟรานซิสโก ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2523 - ต้นปี พ.ศ. 2533 ได้มียาหลอนประสาทถูกสังเคราะห์จากฝิ่นมากมาย ที่รู้จักกันดีคือ fentanyl molecule

ต่อมาเมื่อมีการแนะนำยา estacy สู่ตลาดในกลางปี พ.ศ. 2523 ก็ได้รับความนิยมแพร่หลาย และก็มีการใช้ยานี้เป็นยานอนหลับในปัจจุบัน และ ปลายปี พ.ศ. 2523 ถึงต้นปี 2533 มียา methamphetamine แพร่กระจายในสหรัฐอเมริกา จนกระทรวงสาธารณสุขต้องควบคุมสารตั้งต้นทางเคมีเพื่อตัดขั้นตอนการผลิตสารผิดกฎหมาย

แหล่งข้อมูล:

  1. อย.เข้มออกมาตรการควบคุมเภสัชเคมีภัณฑ์นำมาใช้ผลิตยา - http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000052159&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2013, May 12].
  2. Designer drugs - http://en.wikipedia.org/wiki/Designer_drug [2013, May 12].