หูดหงอนไก่ ปัญหาของคนร่วมเพศ (ตอนที่ 2)

หูดหงอนไก่ ปัญหาของคนร่วมเพศ

ผศ.พญ.เจนจิต กล่าวในตอนท้ายว่า ปัจจุบันมีการคิดค้นวัคซีนที่สามารถป้องกันเกิดโรคหูดหงอนไก่ได้ โดยร้อยละ 90 ของหูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิด 6, 11 โดยวัคซีนที่ป้องกันหูดหงอนไก่ได้อยู่ในรูปวัคซีนเอชพีวีชนิดที่มี 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18) ซึ่งปัจจุบันได้รับการรับรองให้ใช้ได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก อีกด้วย

หูดหงอนไก่ (Genital warts) เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบมากที่สุด โดยผู้หญิงมักจะเป็นมากกว่าผู้ชาย เกิดที่เนื้อเยื้อของอวัยวะเพศ มีลักษณะเล็กเป็นก้อนสีเนื้อ (Flesh-colored bumps) หรือรูปร่างเหมือนดอกกะหล่ำ (Cauliflower-like appearance) ส่วนมากจะเล็กจนมองไม่ค่อยเห็น

เชื้อ Human papillomavirus (HPV) มีมากกว่า 100 ชนิด แต่ชนิดที่ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับอวัยวะเพศได้มีประมาณ 40 ชนิด ทั้งนี้ ร้อยละ 90 ของหูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อ HPV ชนิด 6, 11

หูดหงอนไก่สามารถการติดเชื้อได้จากโดย

  • การมีเพศสัมพันธ์ ทั้งทางช่องคลอด ทวารหนัก และออรัลเซ็กซ์ (Oral sexual)
  • การสัมผัสกับอวัยวะเพศ (Genital contact)
  • การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก

ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีหลังการติดเชื้อ จึงปรากฏอาการ แต่หากระบบภูมิคุ้มกันสามารถฆ่าเชื้อได้ก็จะไม่ปรากฏอาการแต่อย่างใด

ในผู้หญิง หูดหงอนไก่อาจเกิดขึ้นในบริเวณ

  • ปากช่องคลอด (Vulva)
  • ปากมดลูก (Cervix)
  • ผนังช่องคลอด
  • บริเวณรอยต่อระหว่างอวัยวะเพศและทวารหนัก
  • ช่องทวารหนัก (Anal canal)
  • ต้นขาด้านบน

โดยเฉพาะในหญิงมีครรภ์ หูดหงอนไก่มักจะเพิ่มจำนวนมากระหว่างการตั้งครรภ์

ส่วนในผู้ชายอาจเกิดที่บริเวณ

  • บริเวณปลายสุดหรือลำองคชาต (Penis)
  • ถุงอัณฑะ (Scrotum)
  • ภายในท่อปัสสาวะ (Urethra)
  • รอบๆ หรือข้างในทวารหนัก (Anus)
  • ต้นขาด้านบน

นอกจากนี้หูดหงอนไก่อาจเกิดในบริเวณปากหรือคอของคนที่มีออรัลเซ็กส์ได้

แหล่งข้อมูล:

  1. "หูดหงอนไก่" ไม่ถึงตาย แต่ (อาจ) ทำลายชีวิตคู่. http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000039928&Keyword=%e2%c3%a4 [2017, May 7].
  2. Genital warts. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/genital-warts/home/ovc-20265468 [2017, May 7].
  3. Genital warts. http://www.nhs.uk/Conditions/Genital_warts/Pages/Introduction.aspx [2017, May 7].