หินปูนเกาะกระดูกหู (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

เสียงแห่งความเงียบ่

สำหรับการผ่าตัดที่เป็นวิธีที่นิยมทำนั้น ต้องทำการปรึกษาแพทย์ให้ดีถึงความเสี่ยงและข้อจำกัดของการผ่าตัด เช่น การสูญเสียการได้ยินอาจจะยังคงอยู่แม้จะผ่าตัดแล้ว เป็นต้น

โดยการผ่าตัดมี 2 ลักษณะ คือ การผ่าตัดเพื่อนำกระดูกโกลน (Stapes) ที่หินปูนเกาะออก แล้วใส่กระดูกเทียม (Prosthesis) แทน หรือที่เรียกว่า Stapedectomy และการใช้วิธีเอาบางส่วนของกระดูกโกลนออกและทำรูให้เกิดขึ้นที่ด้านล่าง หรือที่เรียกว่า Stapedotomy

หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยไม่ควรนอนทับหูข้างที่ผ่า แพทย์อาจสั่งยาบ้วนปากเพื่อทำความสะอาดช่องปากและป้องกันการติดเชื้อไปยังหู

เนื่องจากหลังการผ่าตัดจะมีการอุดแผลที่หูไว้ ดังนั้นอาจไม่สามารถสังเกตได้ถึงการได้ยินที่เปลี่ยนแปลงไป จนกว่าจะเอาที่อุดหูออก ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 1-3 สัปดาห์

เพราะโรคหินปูนเกาะกระดูกหูจะแย่ลงหากไม่ทำการรักษา การผ่าตัดอาจจะช่วยทำให้ได้ยินได้มากขึ้น อาการปวดและเวียนศีรษะหลังการผ่าตัดมักจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่เพื่อการลดความเสี่ยงของอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ควรปฏิบัติดังนี้

  • อย่าเป่าจมูก 2-3 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด
  • ระวังการติดเชื้อทางเดินหายใจหรือเชื้ออื่นๆ
  • อย่าก้ม ยกของ ทำงานหนักเกินไป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เวียนศีรษะ
  • หลีกเลี่ยงเสียงดังหรือการเปลี่ยนแปลงความกดดันอย่างรวดเร็ว เช่น การดำน้ำ การขึ้นเครื่องบิน หรือการขึ้นเขา เป็นต้น

สำหรับอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • หูตึง (Complete deafness)
  • มีรสชาติแปลกๆ ในปาก
  • ติดเชื้อ เวียนศีรษะ ปวด หรือมีลิ่มเลือดในหู (Blood clot) ภายหลังการผ่าตัด
  • ประสาทถูกทำลาย

ทั้งนี้ หากเทียบระดับของความผิดปกติของการได้ยินและความสามารถในการฟัง สามารถอธิบายได้ดังนี้

แหล่งข้อมูล

  1. Otosclerosis. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001036.htm [2015, May 29].
  2. What You Should Know About Otosclerosis. http://www.entnet.org/content/what-you-should-know-about-otosclerosis [2015, May 29].