หายใจไม่ออกเหมือนปอดอุดกั้น (ตอนที่ 3)

ขหายใจไม่ออกเหมือนปอดอุดกั้น

สำหรับการตรวจวิเคราะห์นั้น แพทย์อาจแนะนำให้ทำการทดสอบดังต่อไปนี้

  • การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function tests = PFT) เป็นการตรวจวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด โดยอาศัยเครื่องมือที่ใช้วัด เรียกว่า Spirometer การตรวจสมรรถภาพปอดจะสามารถบ่งชี้ถึงการเสื่อมของการทำงานของปอดก่อนที่จะมีอาการเกิดขึ้น หรือใช้วิเคราะห์ดูพัฒนาการของโรคและการรักษาว่าได้ผลแค่ไหน
  • การเอ็กซเรย์ช่วงอก (Chest X-ray)
  • การทำซีทีสแกน (CT scan)
  • การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือด (Arterial blood gas analysis) เพื่อวัดว่าปอดสามารถนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือดได้ดีเพียงใด
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (ECG, EKG) หรือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสี่ยงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อดูปัญหาหัวใจที่อาจเป็นสาเหตุทำให้หายใจลำบาก

ขั้นตอนการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่สำคัญ คือ การหยุดสูบทุกชนิด เพื่อไม่ให้อาการแย่ลง นอกจากนี้มีการให้ยาหลายชนิดในการรักษา เช่น

  • ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators) ซึ่งมักอยู่ในรูปยาพ่น (Inhaler) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อรอบทางเดินหายใจคลายตัว ลดอาการไอ ทำให้หายใจสะดวกขึ้น
  • ยาพ่นคอร์ดิโคสเตียรอยด์ (Inhaled corticosteroid) เพื่อลดการอักเสบของทางเดินหายใจและป้องกันอาการกำเริบ (Exacerbation) แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ เป็นจ้ำเขียวง่าย (Bruising) ติดเชื้อในปาก เสียงแหบ และถ้าใช้เป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน ต้อกระจก และเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  • ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาอาการกำเริบเฉียบพลัน

นอกจากนี้ในผู้ป่วยระยะกลางและรุนแรง แพทย์มักใช้วิธีการรักษาดังต่อไปนี้เพิ่มเติม

  • การบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen therapy) – กรณีที่มีออกซิเจนในเลือดไม่พอเพียง โดยบางคนใช้เฉพาะระหว่างออกกำลังกายหรือขณะหลับ บางคนก็พกเป็นอุปกรณ์ติดตัวตลอดเวลา
  • การใช้โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด (Pulmonary rehabilitation program)

แม้ว่าจะอยู่ระหว่างการรักษา บางครั้งอาจมีอาการกำเริบเฉียบพลันซึ่งอาจทำให้ปอดล้มเหลวหากไม่รับการรักษาได้ทันท่วงที ทั้งนี้อาการกำเริบอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ มลพิษทางอากาศ หรือสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ดังนั้นจึงต้องคอยสังเกตุอาการที่เพิ่มขึ้น เช่น การไอ เสมหะ การหายใจลำบาก

แหล่งข้อมูล

1. COPD. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/copd/basics/definition/con-20032017[2016, March 4].

2. COPD (Chronic Obstructive Pulmonary Disease) - Topic Overview. http://www.webmd.com/lung/copd/tc/chronic-obstructive-pulmonary-disease-copd-overview [2016, March 4].