หากสัมผัสสารพิษ ฝ่าวิกฤติเบื้องต้นอย่างไรดี (ตอนที่ 2)

ส่วน โซเดียมไฮโปคลอไรต์ (Sodium hypochlorite) เป็นสารเคมีที่รู้จักกันในบรรดาผู้บริโภค ในนาม “สารฟอกขาว” (Clorox) ที่ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อ หรือสารทำความสะอาด ผลิตเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2332 โดยการนำก๊าซคลอรีน (Chlorine gas) ผ่านสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต (Sodium carbonate) ซึ่งของเหลวที่ได้เป็นสารละลายอย่างอ่อนของโซเดียมไฮโปคลอไรต์

ต่อมาได้มีการพัฒนาวิธีการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ โดยการสกัดกรดมะนาว (Chlorinated lime) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “ผงซักฟอก” (Bleaching powder) ร่วมกับโซเดียมคาร์บอเนต เพื่อให้ได้ระดับคลอรีนที่ต่ำ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ (Antiseptic) ในโรงพยาบาล ที่มีชื่อการค้าว่า Eusol และ Dakin’s solution

น้ำยาฟอกขาว (Bleach) ที่ใช้ในครัวเรือน มีโซเดียมไฮโปคลอไรต์ อยู่ 4–6% และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) อยู่ 0.01–0.05% โดยโซเดียมไฮดรอกไซด์ มักใช้ในการชะลอการแยกตัวโซเดียมไฮโปคลอไรต์ เป็นโซเดียมคลอไรด์กับโซเดียมคลอเรต

ปรกติเราใช้โซเดียมคลอไรต์ เพื่อขจัดคราบบนเสื้อผ้า ซึ่งจะใช้ได้ผลมากกับผ้าฝ้ายที่เป็นรอยได้ง่าย แต่ก็ขจัดคราบได้ง่ายเช่นกัน แต่สารฟอกขาวทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น โซเดียมไฮโปคลอไรต์ หรือปัจจุบันที่หันมานิยมใช้กัน คือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ก็ล้วนแต่ทำให้ใยผ้าเสียหาย เสื่อมสภาพ และเก่าเร็ว จึงแนะนำให้ขจัดคราบผ้าเฉพาะจุดที่เปื้อน และเพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ใช้เอง

การใช้กรดอ่อนๆ เช่น น้ำส้ม (Vinegar) ทาลงบริเวณที่ต้องการขจัดคราบก่อน ก็จะทำให้โซเดียมไฮดรอกไซด์กลายสภาพเป็นกลาง และช่วยทำให้สารคลอรีนในไฮโปคลอไรต์ที่ปรกติจะตกค้างบนเสื้อผ้านั้น ระเหยหายไป การใช้น้ำร้อนก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารฟอกขาว เนื่องจากกระตุ้นโมเลกุลให้ออกฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง

การใช้สารฟอกขาวเพียง 2% ผสมกับน้ำอุ่น เทลงบนผิวหน้าเบียร์และไวน์ เป็นการฆ่าเชื้อก่อนหมักเบียร์และไวน์ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนซึ่งเป็นอันตราย นอกจากนั้น ปัจจุบันก็มีการใช้สารโซเดียมไฮโปคลอไรต์ในการรักษารากฟัน เนื่องจากได้ผลในการทำลายแหล่งเชื้อโรค

กฏหมายสหรัฐอเมริกาอนุญาติให้ใช้สารละลายที่มีสารฟอกขาว เพื่อฆ่าเชื้อในกระบวนการผลิตอาหารได้โดยต้องสะเด็ดน้ำก่อนสัมผัสกับอาหาร และสารละลายดังกล่าวต้องเจือจาง โดยความเข้มข้นต้องไม่เกิน 200 ppm [= Part per million หรือต่อหนึ่งล้านส่วน ซึ่งในกรณีนี้ คือ 1 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม]

การใช้สารฟอกผ้าขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 4 ส่วนก็มีฤทธิ์พอในการฆ่าแบคทีเรียและไวรัสหลายชนิด และยังสามารถฆ่าเชื้อโรคบนอุปกรณ์ [ทางการแพทย์] และบริเวณพื้นผิวสัมผัสในโรงพยาบาล สารละลายมีฤทธิ์กัดกร่อน และต้องทำความสะอาดหลังใช้ประโยชน์ที่ต้องการ เช่น อาจใช้แอลกอฮอล์เอธานอล (Ethanol) ทำความสะอาดอีกครั้ง

มีการใช้สารฟอกขาวในครัวเรือนเจือจาง 3% ในการเติมคลอรีนลงในบ่อหรือในระบบบำบัดน้ำ [เพื่อฆ่าเชื้อโรค] แต่ในระบบที่ใหญ่ขึ้น การใช้โซเดียมไฮโปคลอไรต์จะเหมาะสมกว่าในทางปฏิบัติ เพราะใช้อัตราส่วนที่ต่ำกว่า แต่ความเป็นด่างในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ มักก่อให้แร่ธาตุ (เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต) ตกตะกอน ดังนั้น การเติมคลอรีนมักแถมปัญหาการอุดตัน และการตกตะกอนก็ยังช่วยสะสมแบคทีเรีย ทำให้บางครั้งการฆ่าเชื้อได้ผลน้อย

แหล่งข้อมูล:

  1. “รมช.สธ.” เผยเหยื่อโรงงานระยองบึ้ม นอนโรงพยาบาล 35 รายปลอดภัย-ระดมแพทย์เคลื่อนที่ช่วยประชาชน http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000056260 [2012, May 13].
  2. Sodium Hypochlorite. http://en.wikipedia.org/wiki/Sodium_hypochlorite [2012, May 13].