หลอดเลือดแดงโป่งพอง รุกฆาตโดยไม่รู้ตัว (ตอนที่ 7)

หลอดเลือดแดงโป่งพอง

โดยปัจจัยที่เป็นมาแต่กำเนิด ได้แก่

  • โรคพันธุกรรมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ (Inherited connective tissue disorders) เช่น กลุ่มอาการเออห์เลอรส์-แดนลอส (Ehlers-Danlos syndrome)

    [กลุ่มอาการเออห์เลอรส์-แดนลอส เป็นกลุ่มโรคที่มีความหลากหลายมาก มักมีผิวหนังยืดได้มาก ข้อหลวม มีแผลเป็นขนาดใหญ่และการรักษาบาดแผลทําได้ยาก ผิวหนังมักนุ่มเหมือนกํามะหยี่ อาจมีผิวเปราะบางได้ พบไส้เลื่อนบ่อย มีข้อหลวมหลุด ท่อเลือดแดงโป่งพองและฉีกขาด]

  • โรคถุงน้ำในไต (Polycystic kidney disease) ซึ่งมักจะทำให้ความดันโลหิตสูง
  • โรคเส้นเลือดแดงคอดหรือตีบแคบ (Coarctation of the aorta)
  • โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ (Cerebral arteriovenous malformation / Brain AVM)
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง โดยเฉพาะสายเลือดที่ใกล้ชิดที่สุด เช่น บิดา มารดา พี่หรือน้อง

และนอกจากปัจจัยที่เป็นมาแต่กำเนิดแล้ว ก็อาจเกิดจากปัจจัยในการใช้ชีวิตดังต่อไปนี้

  • อายุที่มากขึ้น
  • สูบบุหรี่
  • ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
  • ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว (Arteriosclerosis)
  • เสพยาเสพติด โดยเฉพาะโคเคน
  • ได้รับบาดเจ็บที่บริเวณศีรษะ
  • ดื่มแอลกอฮอล์มาก
  • มีการติดเชื้อในกระแสเลือด
  • มีฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยหลังจากหมดประจำเดือน

เมื่อหลอดเลือดสมองโป่งพองแตก เลือดมักจะไหล 2-3 วินาที ซึ่งสามารถเป็นสาเหตุโดยตรงให้เซลล์บริเวณรอบๆ ถูกทำลาย และทำให้เซลล์อื่นถูกทำลายด้วย นอกจากนี้ยังทำให้ความดันในกระโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นไปด้วย

และหากความดันเพิ่มสูงขึ้น เลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองก็อาจจะแตก ทำให้หมดสติหรืออาจทำให้เสียชีวิตได้

นอกจากนี้ หลังจากที่หลอดเลือดสมองแตก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดังต่อไปนี้

  • เลือดไหลอีก (Re-bleeding) ซึ่งสามารถเป็นสาเหตุให้เซลล์สมองถูกทำลายมากขึ้น
  • หลอดเลือดหดเกร็ง (Vasospasm) ซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงเซลล์สมองน้อยลง ทำให้สมองขาดเลือด (ischemic stroke) และเป็นสาเหตุให้เซลล์ถูกทำลายมากขึ้นอีก
  • ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus) ซี่งทำให้ความดันในสมองสูงขึ้นและสามารถทำลายเซลล์
  • ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) ซึ่งสามารถเป็นเหตุให้เซลล์สมองบวมและถูกทำลายอย่างถาวร

แหล่งข้อมูล

1. Brain aneurysm. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/brain-aneurysm/basics/definition/con-20028457 [2016, September 26].