หมาก็บ้า คนก็ตาย (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

หมาก็บ้าคนก็ตาย

เนื่องจากเมื่อโดนสัตว์กัด เราไม่มีทางทราบได้ว่า มีการแพร่ของเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ดังนั้น แพทย์จึงมักแนะนำให้ทำการรักษาเบื้องต้นด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อก่อน

หากทราบว่าโดนกัดโดยสัตว์ที่มีเชื้อ หรือถูกกัดโดยสัตว์ที่หาตัวไม่พบ แพทย์จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นชุด (Series of shots) ซึ่งรวมถึง

  • การให้อิมมูโนโกลบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies immune globulin) โดยฉีดเข้าบริเวณที่ถูกกัดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • การฉีดวัคซีนเป็นชุดเข้าที่แขน (จำนวน 4 เข็ม ในระยะเวลา 14 วัน) เพื่อให้ร่างกายเรียนรู้ถึงลักษณะของเชื้อที่จะต้องต่อสู้ด้วย

ในบางกรณีที่มั่นใจว่าสัตว์ที่กัดนั้นมีสุขภาพปกติ ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องฉีดยาก็ได้ เช่น เป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้หรือเป็นสัตว์ในฟาร์ม ซึ่งต้องเฝ้าสังเกตุดูอาการของสัตว์ที่กัดว่ายังมีสุขภาพดีอยู่เป็นเวลา 10 วัน ก่อน

กรณีการวินิจฉัยโรคในคน อาจทำด้วยการ

  • การตรวจชิ้นเนื้อ (Skin biopsy)
  • การตรวจน้ำลาย (Saliva tests)
  • การตรวจเลือด (Blood tests)
  • การตรวจน้ำไขสัน (Spinal fluid tests)

ส่วนการวินิจฉัยโรคในสัตว์นั้น จะต้องมีการนำศีรษะของสัตว์ไปตรวจหาเชื้อ

สำหรับการป้องกัน เราสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ ดังนี้

  • ฉีดวัคซีนกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เลี้ยงอย่างแมวและสุนัข
  • จำกัดขอบเขตของสัตว์เลี้ยงในบ้าน และคอยตามดูสัตว์เลี้ยงกรณีที่ปล่อยออกนอกบ้าน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสัตว์อื่น
  • อย่าเข้าใกล้สัตว์ป่าหรือสัตว์จรจัดที่ดูไม่เป็นมิตร
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ากรณีที่ต้องเดินทางไปยังที่ที่มีการแพร่ระบาด

ส่วนกรณีที่โดนสัตว์กัดหรือข่วน เราควร

  • ล้างแผลด้วยสบู่และน้ำไหลผ่านเป็นเวลา 15 นาที
  • ใช้ยาฆ่าเชื้อโรค (Antiseptic) หรือแอลกฮอล์ทำความสะอาดแผล
  • ปล่อยให้แผลเปิด
  • ไปยังโรงพยาบาลหรือคลีนิกที่ใกล้สุด

แหล่งข้อมูล

1. Rabies. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rabies/basics/definition/con-20019900 [2016, September 19].

2. Rabies. http://www.nhs.uk/Conditions/Rabies/Pages/Introduction.aspx [2016, September 19].

3. Rabies. http://www.medicinenet.com/rabies_virus/article.htm [2016, September 19].