หมัดน็อค หมัดตาย (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

หมัดน็อคหมัดตาย-4

      

      สำหรับการรักษามีเป้าหมายเพื่อให้สมองได้รับเลือดและออกซิเจนที่พอเพียงเพื่อคงให้มีสุขภาพปกติ ซึ่งอาจต้องอาศัยทั้งการใช้ยาและการผ่าตัด โดยการรักษาที่รวดเร็วจะให้ผลได้ดีและกลับคืนสู่สภาพปกติได้สมบูรณ์ มิฉะนั้นสมองอาจได้รับความเสียหาย

      ทั้งนี้ การรักษาสามารถทำได้ด้วยวิธี

  • การบําบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen therapy)
  • การให้สารน้ำ (IV fluids) เพื่อควบคุมไม่ให้ความดันโลหิตตกลงมาก สมองได้รับเลือดที่เพียงพอ อย่างไรก็ดีสารน้ำบางชนิดอาจทำให้สมองบวมมากขึ้น ดังนั้นชนิดและปริมาณของสารน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญ
  • การลดภาวะอุณหภูมิในร่างกายให้ต่ำลงหรือทำให้เกิดภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) แต่ไม่ค่อยนิยมใช้และอยู่ระหว่างการวิจัยเพิ่มเติม
  • การให้ยา (Medication)
  • การระบายน้ำไขสันหลังจากห้องสมอง (Ventriculostomy)
  • การผ่าตัด เพื่อ
  • เพื่อลดความดันในสมองหรือที่เรียกว่า การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะ (Decompressive craniectomy) ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดกะโหลกศีรษะแล้วไม่ปิดชิ้นกะโหลกกลับเข้าไป เมื่อสมองของผู้ป่วยหายบวมและไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ จึงค่อยทำการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ (Cranioplasty) ในภายหลัง โดยใช้กะโหลกศีรษะเดิมที่แช่แข็งเก็บไว้ หรือใช้กะโหลกศีรษะเทียม
  • การแก้ไขหรือซ่อมแซมสิ่งที่ทำให้เกิดอาการบวม เช่น ซ่อมแซมหลอดเลือด เป็นต้น

      ผลกระทบในระยะยาวจากการที่สมองบวมนั้นขึ้นกับความรุนแรงและตำแหน่งที่เป็น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อ

  • การนอนหลับ
  • ทักษะการคิดและสมาธิ
  • ปวดศีรษะ
  • หดหู่ซึมเศร้า
  • ทักษะการสื่อสาร
  • การเคลื่อนไหว

      สำหรับการป้องกันภาวะสมองเสื่อม ทำได้โดย

  • ใส่หมวกกันน็อคเมื่อขับขี่ เล่นสเก็ต หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่อาจทำให้หกล้มศีรษะฟาดได้
  • คาดสายรัด (Seat belts) ขณะขับรถ
  • ควบคุมความดันโลหิตและโรคหัวใจ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • เมื่อขึ้นที่สูง ต้องให้เวลาร่างกายในการค่อยๆ ปรับตัว

แหล่งข้อมูล:

  1. Brain Swelling. https://www.webmd.com/brain/brain-swelling-brain-edema-intracranial-pressure#1 [2018, August 23].
  2. Cerebral Edema. https://www.healthline.com/health/cerebral-edema [2018, August 23].