หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่ (ตอนที่ 7)

หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่

หลัง 4-10 วัน จากการป่วยครั้งแรก จะปรากฏอาการระยะสุดท้าย ได้แก่

  • ไอ
  • หายใจลำบาก
  • น้ำท่วมปอด (หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว)

โดยโรคติดเชื้อไวรัสฮันตา มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 38

การวินิจฉัยผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสฮันตาระยะแรกทำได้ยาก เพราะมีลักษณะคล้ายไข้หวัด กล่าวคือ

  • เป็นไข้
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • อ่อนเพลีย

อย่างไรก็ดี หากผู้ป่วยมีประวัติว่า ได้สัมผัสกับสัตว์ฟันแทะก็น่าจะช่วยในการวินิจฉัยได้มากขึ้น

สำหรับการรักษานั้นยังไม่วัคซีนหรือวิธีการเฉพาะ ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแม้ว่าจะมีอาการไม่รุนแรง อาจมีการให้ยาและของเหลวทางเส้นเลือด การใช้เครื่องช่วยหายใจ

การป้องกันทำได้ด้วยการกำจัดหรือลดการสัมผัสกับหนู ให้อุดรู้ ทำความสะอาดบ้านเรือนให้สะอาด

โรคไข้ลัสสา (Lassa Fever) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลันที่เกิดจากหนูชื่อ Multimammate rat (Mastomys natalensis) ที่อาศัยในแถบแอฟริกา โดยปล่อยเชื้อไวรัสในปัสสาวะและอุจจาระของหนู

การแพร่กระจายของโรคเกิดมากที่สุดทางการกินอาหารที่ปนเปื้อนและการสูดหายใจ นอกจากนี้ เชื้อยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ด้วยการติดเชื้อจากเลือด ทิชชู สารคัดหลั่ง หรือการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย (เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ)

อาการจะปรากฏใน 1-3 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนๆ และตรวจไม่พบ โดยอาการอ่อนๆ ดังกล่าว ได้แก่

  • เป็นไข้เล็กน้อย
  • อ่อนเพลียปกติ
  • ปวดศีรษะ

บรรณานุกรม

1. Hantavirus Pulmonary Syndrome (HPS) - Topic Overview. http://www.webmd.com/lung/tc/hantavirus-pulmonary-syndrome-hps-topic-overview [2016, December 20].

2. Lassa Fever. http://www.cdc.gov/vhf/lassa/ [2016, December 20].