หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่ (ตอนที่ 6)

หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่

นอกจากนี้อาจพบอาการอุจจาระร่วงและมีเลือดปน ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ กรณีที่ความต้านทานต่ำจะเกิดอาการแพ้ได้

การวินิจฉัยทำได้ด้วยการตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิ สำหรับการรักษาทำได้ด้วยการถ่ายพยาธิ

ส่วนการป้องกันทำได้ด้วยการกินอาหารที่สุกและสะอาด อาหารที่ไม่คิดว่ามีแมลงหรือหมัดหนูตกลงไปในอาหาร

โรคติดเชื้อไวรัสฮันตา (Hantavirus Pulmonary Syndrome = HPS) เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงที่ปอด บางครั้งทำให้เสียชีวิตได้ คนที่สัมผัสกับสัตว์กัดแทะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่สูง แม้ว่าจะเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงก็ตาม

คนสามารถติดเชื้อโดย

  • การหายใจเอาเชื้อไวรัสเข้าไป (Airborne transmission)
  • โดนกัด (พบยาก)
  • สัมผัสกับของที่มีการปนเปื้อนของปัสสาวะ อุจจาระ หรือน้ำลาย ของสัตว์ที่ติดเชื้อ แล้วนำมือนั้นมาสัมผัสกับจมูกและปากของตัวเอง
  • กินอาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ อุจจาระ หรือน้ำลาย ของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • แต่ไม่มีการติดเชื้อจากคนสู่คน

กิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคติดเชื้อไวรัสฮันตา ได้แก่

  • การเข้าทำความสะอาดตึกร้าง โรงนา โรงรถ หรือห้องเก็บของ ที่ถูกปิดและไม่ได้ใช้งาน
  • การทำความสะอาดบริเวณรอบบ้าน
  • คนที่ทำงานก่อสร้าง กำจัดแมลง ที่ต้องคลาน หรือ ตึกร้างที่เป็นที่อยู่อาศัยของหนู

เนื่องจากมีการพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสฮันตาไม่มากนัก จึงไม่ทราบระยะเวลาฟักตัวที่แน่นอน แต่เชื่อว่าน่าจะอยู่ระหว่าง 1-8 สัปดาห์หลังการสัมผัสกับปัสสาวะ อุจจาระ หรือน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ โดยอาการเริ่มต้น ได้แก่

  • อ่อนเพลีย
  • เป็นไข้
  • ปวดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น ต้นขา สะโพก หลัง ไหล่
  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย ปวดท้อง

บรรณานุกรม

1. Hymenolepis diminuta. http://eol.org/pages/2923808/details [2016, December 19].

2. Hantavirus Pulmonary Syndrome (HPS) - Topic Overview. http://www.webmd.com/lung/tc/hantavirus-pulmonary-syndrome-hps-topic-overview [2016, December 19].