หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่ (ตอนที่ 3)

หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่

ระยะเวลาที่ติดเชื้อจนถึงเวลาที่เริ่มป่วยอยู่ที่ 2 วัน – 4 สัปดาห์ มักเริ่มด้วยอาการเป็นไข้ทันทีทันใด และแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

  • ระยะแรก จะมีอาการเป็นไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน หรือท้องเสีย ผู้ป่วยอาจจะฟื้นไข้ช่วงหนึ่ง แต่จะกลับมาป่วยอีกครั้ง
  • ระยะที่สอง เป็นระยะที่รุนแรงมากกว่า ผู้ป่วยอาจจะมีอาการไตหรือตับวาย หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ระยะนี้อาจเรียกว่า Weil's disease

อาการป่วยจะเป็นอยู่ 2-3 วัน จนถึง 3 สัปดาห์ หากไม่ทำการรักษาอาจใช้เวลาในการฟื้นฟูหลายเดือน

โรคไข้ฉี่หนูเกิดขึ้นได้ทั่วโลก แต่พบมากที่สุดในเขตร้อน โดยผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคคือ ผู้ที่ทำงานกลางแจ้งหรือทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น

  • เกษตรกร
  • คนงานเหมืองแร่
  • คนขุดท่อ
  • คนงานโรงฆ่าสัตว์
  • สัตวแพทย์และผู้ดูแลสัตว์
  • คนจับปลา
  • ทหาร

นอกจากนี้โรคไข้ฉี่หนูยังสัมพันธ์กับกิจกรรมในทะเลสาบหรือแม่น้ำที่มีเชื้อ เช่น

  • การว่ายน้ำ
  • การเดินลุยน้ำหรือโคลน
  • การการพายเรือคายัค (Kayaking)
  • การแข่งแพ (Rafting) ในทะเลสาบหรือแม่น้ำที่มีเชื้อ

การวินิจฉัยโรคไข้ฉี่หนูสามารถทำได้ด้วยการตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ

ส่วนการรักษาทำได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ เช่น

  • ยา Doxycycline
  • ยา Penicillin
  • ยา Ampicillin
  • ยา Azithromycin
  • ยา Ceftriaxone

บรรณานุกรม

1. Leptospirosis. http://www.cdc.gov/leptospirosis/index.html [2016, December 16].

2. Leptospirosis. https://medlineplus.gov/ency/article/001376.htm [2016, December 16].