หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่ (ตอนที่ 2)

หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่

โรคทางตรงที่แพร่เชื้อโดยหนู

โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Leptospira) ที่ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากไม่ทำการรักษา โรคไข้ฉี่หนูจะสามารถทำลายไต เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) ตับวาย หายใจอึดอัด (Respiratory distress) และเสียชีวิตได้

แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคไข้ฉี่หนูสามารถกระจายได้ทางปัสสาวะของสัตว์ติดเชื้อซึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำหรือดินได้เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยสัตว์ที่เป็นตัวพาหะของเชื้อนี้ เช่น

  • วัวควาย
  • สุกร
  • ม้า
  • สุนัข
  • หนู
  • สัตว์ป่า

สัตว์ที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการแต่อย่างไร แต่จะปล่อยเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่สภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนหรือเป็นปี โดยมนุษย์สามารถติดเชื้อได้ด้วยการ

  • สัมผัสกับปัสสาวะ (ของเหลวในร่างกายสัตว์ ยกเว้นน้ำลาย) ของสัตว์ติดเชื้อ
  • สัมผัสกับน้ำ ดิน หรืออาหารที่มีการปนเปื้อนด้วยปัสสาวะของสัตว์ติดเชื้อ

แบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังหรือเยื่อเมือกบุผิว (Mucous membrane) ที่เป็นพื้นผิวด้านในที่บุช่องปาก โพรงจมูก ลำไส้ กระเพาะอาหาร และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะส่วนผิวหนังที่เป็นรอยแผลหรือรอยถลอก นอกจากนี้การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนก็ทำให้เป็นโรคได้ เช่น น้ำท่วม ส่วนการติดต่อจากคนไปสู่คนนั้นพบได้ยาก

โรคไข้ฉี่หนูในคนสามารถทำให้เกิดอาการได้มากมาย เช่น

  • เป็นไข้สูง
  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • อาเจียน
  • ดีซ่าน (ผิวและตาสีเหลือง)
  • ตาแดง
  • ปวดท้อง
  • ท้องเสีย
  • เป็นผื่น
  • ไอ เจ็บคอ

บรรณานุกรม

1. Leptospirosis. http://www.cdc.gov/leptospirosis/index.html [2016, December 15].

2. Leptospirosis. https://medlineplus.gov/ency/article/001376.htm [2016, December 15].