หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่ (ตอนที่ 12)

หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่

ในขณะที่อาการของไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะจะมีอาการอีกลักษณะ คือ

  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • อ่อนเพลีย
  • มีรอยแผลแดงหรือปวดบริเวณที่โดนกัด
  • ไอ
  • เป็นผื่นคัน

ระยะเวลาฟักตัวของโรคเฉลี่ยอยู่ที่ 10-14 วัน กล่าวคือ ภายใน 10-14 วันหลังการโดนกัดจะไม่ปรากฏอาการแต่อย่างใด ดังนั้นนักเดินทางมักจะไม่สังเกตถึงอาการจนกว่าจะกลับบ้าน

ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแจ้งแก่แพทย์ว่าได้มีการเดินทางมาก่อนที่จะเกิดอาการข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยของแพทย์ได้เร็ว เพราะอาการของโรคไข้รากสาดใหญ่จะคล้ายกับอาการของ

  • ไข้เดงกี (Dengue)
  • ไข้มาลาเรีย (Malaria)
  • โรคบรูเซลโลซิส (Brucellosis)

การวินิจฉัยโรคไข้รากสาดใหญ่อาจทำด้วยการ

  • การตรวจชิ้นเนื้อ (Skin biopsy)
  • การศึกษาโปรตีน ด้วยเทคนิค Western blot
  • การตรวจ Immunofluorescence test
  • การตรวจเลือด (Blood test)

การรักษาที่นิยมใช้คือ การให้ยาปฏิชีวนะ เช่น

  • ยา Doxycycline
  • ยา Cholramphenicol
  • ยา Ciprofloxacin

ส่วนอาการแทรกซ้อนที่เกิด ได้แก่

  • โรคตับอักเสบ หรือ ติดเชื้อที่ตับ (Hepatitis)
  • เลือดออกในทางเดินอาหาร (Gastrointestinal hemorrhage)
  • ภาวะที่มีปริมาตรเลือดไหลเวียนลดลง (Hypovolaemia)

บรรณานุกรม

1. Typhus. http://www.healthline.com/health/typhus#Causes2 [2016, December 25].