หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่ (ตอนที่ 11)

หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่

ชนิดของไข้รากสาดใหญ่ (ต่อ)

1. ไข้รากสาดใหญ่ประจำถิ่น (Endemic typhus) แต่ก่อนเรียกไข้รากสาดใหญ่จากหนู (Murine typhus) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Rickettsia typhi ที่มีหนูหรือหมัดแมวเป็นพาหะ ไข้รากสาดใหญ่ชนิดนี้พบได้ทั่วโลกในหมู่คนที่สัมผัสกับหนูหรือบริเวณที่หนูอาศัย

2. ไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะ (Scrub typhus) หรืออาจเรียกว่า โรคซูซูกามูชิ (Tsutsugamushi disease) เพราะไข้รากสาดใหญ่ชนิดนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Orientia tsutsugamushi ที่มีหนูเป็นพาหะ พบมากในเอเชีย ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะแปซิฟิค

การติดเชื้อไข้รากสาดใหญ่มักเกิดในประเทศกำลังพัฒนาที่ยังไม่มีสุขอนามัยที่ดี หากไม่ได้รับการรักษาสามารถเป็นเหตุให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงและเสียชีวิตได้

อาการของไข้รากสาดใหญ่จะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด แต่มีอาการร่วม เช่น

  • ปวดศีรษะ
  • เป็นไข้
  • หนาวสั่น
  • เป็นผื่นคัน

โดยอาการของไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาดมักจะมีพัฒนาการที่รวดเร็ว เช่น

  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • ไข้สูง
  • ผื่นเริ่มต้นที่หลังหรือหน้าอกแล้วแพร่กระจายไป
  • สับสน
  • มึนงงกึ่งสลบ (Stupor)
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • ตาไวต่อแสงจ้า
  • ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง

ส่วนอาการของไข้รากสาดใหญ่ประจำถิ่นมักจะหายใน 10-12 วัน มีอาการคล้ายไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาดแต่รุนแรงน้อยกว่า และมีอาการอื่นที่แตกต่าง เช่น

  • ไอแห้ง
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ท้องเสีย

บรรณานุกรม

1. Typhus. http://www.healthline.com/health/typhus#Causes2 [2016, December 24].