สุขภาพจิต กับชีวิตซึมเศร้า (ตอนที่ 3)

นอกจากสาเหตุโดยตรงแล้ว ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าด้วย ภาวะซึมเศร้านั้น อาจเริ่ม ในวัยรุ่น ในวัยยี่สิบ หรือสามสิบ แต่จริงๆอาจเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้ ผู้หญิงอาจถูกตรวจพบว่าป่วยด้วยภาวะนี้มากกว่า ผู้ชายถึงสองเท่า (แม้ว่าอาจเป็นเพราะผู้หญิงมักหาวิธีการรักษามากกว่าก็ตาม)

ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว คือ มีคนในครอบครัว ญาติสนิท มิตรสหายที่ป่วยด้วยภาวะนี้ ผู้หญิง เพราะมักมีเพื่อนน้อยกว่าผู้ชาย ผู้หญิงที่เพิ่งให้กำเนิด บุตร (Postpartum depression: ภาวะซึมเศร้า หลังคลอด) ป่วยเป็นโรคร้ายแรง อย่างมะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ อัลไซเมอร์ หรือเอดส์ มีบุคลิกภาพเฉพาะตัว อย่างความมั่นใจต่ำ ต้องพึ่งพาคนอื่นมากไป ชอบโทษตัวเอง หรือมองโลกในแง่ร้าย

นอกจากนี้ การใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด นิโคติน หรือสารเสพติดผิดกฎหมายชนิดอื่นๆ และการใช้ยารักษาความดันโลหิต บางประเภท ยานอนหลับ หรือยาบางประเภท

หากคุณกำลังเริ่มมองหาการรักษา คุณอาจเริ่มด้วยปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน หรืออาจติดต่อจิตแพทย์ หรือ นักบำบัดจิตโดยตรงเลยก็ดี เนื่องจากการรักษาแต่ละครั้งอาจจะต้องกระชับ และเนื่องจากมีเรื่องราวพื้นเพหลายอย่างที่ต้องคุย จึงเป็นการดีที่เราควรเตรียมตัวก่อนนัดหมายแต่ละครั้ง

สิ่งที่เราสามารถเตรียมตัวล่วงหน้าได้ ได้แก่ การเขียนอาการที่เราเป็น ทั้งที่น่าจะเกี่ยวข้อง รวมไปถึงสิ่งที่ดูเหมือนไม่ เกี่ยวข้องด้วย การเขียนข้อมูลส่วนตัวหลักๆ รวมถึงความเครียดครั้งใหญ่ หรือ การเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่เกิดขึ้นพักหลัง การเขียนรายการยา วิตามิน หรืออาหารเสริมต่างๆ ที่เรากำลังใช้

การพาเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัวไปด้วย เพื่อช่วยจดจำคำปรึกษาและคำแนะนำที่ได้ นอกจากนี้ยังควรเขียน คำถามที่อยากถามนักบำบัด โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย เพื่อประหยัดเวลา และเพื่อให้ถามได้ครอบคลุม ประเด็นสำคัญทั้งหมด

คำถามที่ควรเตรียมถาม เช่น ภาวะซึมเศร้าเป็นต้นเหตุทั้งหมดของอาการที่เราเป็นหรือไม่ มีสาเหตุอื่นๆที่อาจ ก่อให้เกิดอาการเหล่านี้อีกหรือไม่ ต้องใช้การทดสอบประเภทใด การรักษาแบบใดจะได้ผลดีที่สุดสำหรับเรา มีทางเลือกในการรักษาอื่นๆนอกจากวิธีรักษาหลักที่แนะนำอีกหรือไม่

และหากตัวเรามีโรคอื่นๆด้วย คำถามเพิ่มเติม เช่น ควรจัดการเจ็บป่วยทั้งสองร่วมกันอย่างไร มีข้อห้ามที่ไม่ควรทำหรือไม่ ควรพบจิตแพทย์ อีกหรือไม่ ยาที่เราต้องใช้มีผลข้างเคียงหรือไม่ มีทางเลือกอื่นทั่วไปนอกจากการรักษาด้วยยาหรือไม่ และมีแผ่นพับหรือเว็บไซต์ ใดๆ ที่ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับ เรื่องนี้หรือไม่

วิธีการรักษาภาวะซึมเศร้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา หรือการบำบัดจิต ในบางกรณี แพทย์ทั่วไปอาจสั่งยาให้ผู้ป่วย แต่ก็มีหลายคนที่จำเป็นจะต้องได้รับการวินิจฉัยและบำบัดจิตโดยตรงโดยจิตแพทย์ โดยมากแล้ว วิธีการรักษาภาวะซึมเศร้าที่ได้ผลที่สุดก็คือ การผสมกันระหว่างการรักษาด้วยยาและการบำบัดจิตนั่นเอง

แหล่งข้อมูล:

  1. [Depression (major depression)] Definition. http://www.mayoclinic.com/health/depression/DS00175 [2012, November 14].
  2. [Depression (major depression)] Preparing for your appointment. http://www.mayoclinic.com/health/depression/DS00175/DSECTION=preparing-for-your-appointment [2012, November 14].
  3. [Depression (major depression)] Treatments and drugs. http://www.mayoclinic.com/health/depression/DS00175/DSECTION=treatments-and-drugs [2012, November 14].