สึกแล้วสึกเลยนะ (ตอนที่ 3)

สึกแล้วสึกเลยนะ-3

      

      หลักการของฟันสึกเกิดได้จาก

  • การเสียดทาน (Attrition) เมื่อฟันกระทบหรือบดกัน เช่น การนอนกัดฟัน (Bruxism) การกัดเค้นเวลาเครียด (Clenching)
  • การขัดสี (Abrasion) เมื่อมีการแปรงฟันที่แรงเกินไป การใช้ไหมขัดฟันไม่ถูกวิธี การกัดของแข็ง เช่น กัดเล็บ ฝาขวด ปากกา หรือ การเคี้ยวใบยาสูบ
  • การสึกแอปแฟรกชัน (Abfraction) เมื่อมีการแตกหักที่ฟัน เช่น ฟันงอ
  • การสึกกร่อน (Corrosion) จากกรดที่อยู่ในสารเคมี เช่น ยา Aspirin วิตามินซีเม็ด การอาเจียนจากโรคบูลิเมียหรือโรคล้วงคอ (Bulimia) หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism)

      ส่วนสาเหตุของฟันสึก อาจเกิดได้จาก

  • ดื่มน้ำอัดลมมากไป (มีกรดฟอสฟอริกและกรดกรดซิตริก)
  • ดื่มน้ำผลไม้ (กรดบางชนิดในผลไม้มีฤทธิ์กัดกร่อน)
  • ปากแห้งหรือมีน้ำลายน้อย (Xerostomia)
  • กินอาหารที่มีน้ำตาลและแป้ง (Starches) มาก
  • เป็นโรคกรดไหลย้อน (Acid reflux disease = GERD)
  • มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal problem)
  • กินยาบางชนิด เช่น ยา Aspirin ยา Antihistamines
  • พันธุกรรม (Genetics)
  • ปัจจัยสภาพแวดล้อม เช่น ความเครียด

      หรือกรณีที่แบ่งเป็นสาเหตุภายในและภายนอก

      สาเหตุภายใน (Intrinsic Causes) ของฟันสึกมากจากการที่มีกรดกระเพาะ (Gastric acids) เข้าไปในช่องปากมากกว่าปริมาณที่น้ำลายจะดูแลได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน โดยกรดอาจเกิดจาก

o โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux)

o โรคบูลิเมีย เนอโวซา (Bulimia nervosa) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า โรคล้วงคอ [เป็นภาวะความผิดปกติในเรื่องของการกินอาหาร โดยเป็นความผิดปกติที่มีลักษณะเป็นวงจรที่เริ่มจากการกินอาหารปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีแคลอรีสูง แล้วตามด้วยการพยายามกำจัดอาหารที่เพิ่งกินเข้าไปนั้น ด้วยการทำให้ตัวเองอาเจียนและ/หรือการใช้ยา เช่น ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ยาบ้า ซึ่งผู้ที่เป็น Bulimia มักจะเป็นหญิงสาวในช่วงวัยรุ่นตอนปลายถึงช่วงวัยยี่สิบต้นๆ]

o โรคพิษสุราเรื้อรัง (Chronic Alcoholism) ที่มีการอาเจียนและสำรอก

o การตั้งครรภ์ (Pregnancy) เพราะการเพิ่มแรงกดในช่องท้องระหว่างการตั้งครรภ์อาจทำให้มีกรดเพิ่ม มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis gravidarum)

o เป็นโรคบางชนิดที่ทำให้ต่อมน้ำลายแห้ง เช่น กลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren's syndrome)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Dental erosion. https://www.dentalhealth.org/dental-erosion [2018, October 11].
  2. Causes & Treatment of Tooth Erosion. https://gpdentalpartners.com.au/education/causes-treatment-of-tooth-erosion/ [2018, October 11].
  3. Dental Erosion. https://www.ada.org/en/member-center/oral-health-topics/dental-erosion [2018, October 11].
  4. Tooth Enamel Erosion and Restoration. https://www.webmd.com/oral-health/guide/tooth-enamel-erosion-restoration#1 [2018, October 11].