สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน: นวตกรรม Corneal cross linking

สาระน่ารู้จากหมอตา

Corneal cross linking เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่มความแข็งแรงของกระจกตาชั้นกลาง (ชั้น stroma) มิให้กระจกตาโก่งขึ้น กล่าวคือ ในโรคของกระจกตาบางชนิด เช่น ภาวะ keratoconus กระจกตามีแนวโน้มที่จะโก่งตัวออกโค้งมากขึ้นอย่างไม่สม่ำเสมอเป็นรูปกรวย (cone shape) ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นร่วมกับสายตาเอียงมากขึ้น วิธีนี้จึงทำเพื่อให้กระจกตามีความแข็งแรงขึ้น ชะลอการโก่งตัวลง

อาศัยหลักของการเพิ่มความแข็งแรง คงทน ของวัสดุ ที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมด้วยกระบวนการ cross linking นี้ ด้วยสารเคมีที่เรียกกันว่า chemical cross linking ด้วย glutaraldehyde ในการทำลิ้นหัวใจเทียม การใช้รังสี UVA ในการอุดฟัน จึงได้มีผู้คิดที่จะทำให้กระจกตาของผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นด้วยกระบวนการเดียวกันจึงเกิด

ขึ้น และเริ่มมีการใช้ครั้งแรกในปี 1993 เรียกกันว่า corneal cross linking โดยหมอชาวเยอรมัน ชื่อ Seiler T. และ Spoerl E.

การทำ cross linking เป็นการเพิ่ม molecular bond ให้กับเนื้อเยื่อ โดยต้องมีสารนำที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา (enzymatic process) ซึ่งสารนำดังกล่าวอาจเป็น

  • aldehyde sugar เช่น glucose
  • chemical fixative เช่น glutaraldehyde
  • photosensitizer ทำปฏิกิริยาร่วมกับแสง เช่น สาร riboflavin และรังสี UV

การทำ corneal cross linking เลือกใช้ riboflavin (vitamin/vit B-2) ร่วมกับรังสี UV โดยเมื่อ vit B2 ดูดซับรังสี UV จะทำให้เกิดปฏิกิริยา cross linking และตัว vit B2 ยังช่วยเร่งให้เกิด ROS (reactive oxygen species หรือ singlet oxygen) และตัว oxygen radical ที่ถูกปล่อยออกมาจะทำปฏิกิริยากับ amino group ของ collagen fibril ในชั้น stroma ของกระจกตาเกิด covalent bond ช่วยยึด molecule ของกระจกตาให้แน่นและแข็งแรงขึ้น กล่าวโดยสรุปวิธีทำก็คือต้องเริ่มด้วยทำให้ Vit B2 เข้าไปอยู่ในกระจกตา โดยการหยอดยาสารละลายที่มี Vit B2 ตามด้วยการฉายรังสี UVA (ความยาวคลื่น 370 nm) ไปยังกระจกตารังสี UVA กับ Vit B2 ก่อให้เกิดปฏิกิริยา cross linking ขึ้นในชั้นกลางของกระจกตา

อย่างไรก็ตามต้องระวังรังสี UVA ที่จะทำลาย cell ชั้นในสุดของกระจกตา (endothelium) ก่อให้เกิดต้อกระจก และทำลายจอประสาทตาด้วย จึงต้องระมัดระวังในจุดนี้ด้วยการหยอด Vit B2 ให้ชุ่มร่วมกับกระจกตาที่หนามากกว่า 400 nm จะดูดซับรังสี UVA ไว้ได้มากที่สุด เหลือผ่านไปถึง endothelium หรือ lens หรือจอตาน้อยที่สุด

ปัจจุบันมีการใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยต่อไปนี้

  1. ผู้ป่วยที่มีกระจกตาโก่งมากขึ้นเรื่อยๆ (progressive) เช่น ในโรค keratoconus , โรค pellucid marginal degeneration โดยที่ตรวจพบความโค้งเพิ่มขึ้น 1.0 D ต่อปี หรือต้องเปลี่ยนคอนแทคเลนส์มากกว่า 1 ครั้ง ใน 2 ปี
  2. ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะโก่งของกระจกตาหลังรักษาสายตาสั้น ด้วยวิธีทำให้กระจกตาบางลง
  3. กระจกตาเปื่อย (corneal melting) ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ

โดยสรุป วิธีนี้มีใช้กันในต่างประเทศ รายงานออกมาได้ผลดีระดับหนึ่ง ในบ้านเรยังไม่เห็นมีใครลองใช้ คงต้องรอดูอีกสักระยะ