สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน ทำไมการเปลี่ยนดวงตามักจะมีผลสำเร็จ

สาระน่ารู้จากหมอตา

ในปัจจุบันมีการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะโดยนำอวัยวะผู้เสียชีวิตมาแทนอวัยวะที่ใช้การไม่ได้ของผู้ป่วยได้หลายอย่าง แต่เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ การเปลี่ยนดวงตาเป็นการเปลี่ยนอวัยวะที่ได้ผลดีที่สุด มีผลสำเร็จถึงกว่า 90% ยิ่งในปัจจุบันมียากดภูมิต้านทานยิ่งจะทำให้ผลสำเร็จมีมากขึ้น

การปลูกถ่ายอวัยวะที่ได้ผลไม่ดีนักอันหนึ่ง คือ ปฏิกิริยาการต่อต้าน (rejection) เป็นปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน (immune) ที่ร่างกายผู้รับต่อต้านกันอวัยวะของผู้บริจาค ซึ่งการที่ผ่าตัดปลูกถ่ายตาดำได้ผลดีเนื่องจาก

  1. ตาดำหรือกระจกตาเป็นอวัยวะที่ไม่มีหลอดเลือด จะมีอยู่บ้างก็เฉพาะบริเวณขอบตาดำที่เรียก limbus เท่านั้น
  2. กระจกตาเฉพาะบริเวณขอบเท่านั้นที่มีเซลล์ที่เรียก antigen presenting cell (APC) ซึ่งเป็นเซลล์ที่รับ สารที่เรียกว่า antigen จากกระจกตาผู้บริจาค นำพาไปสู่ต่อมน้ำเหลือง ส่วนกระจกตาบริเวณตรงกลางจะไม่มีเซลล์ชนิดนี้แม้ว่าอาจมีบางสภาวะ เช่น อุบัติเหตุ สารเคมี cytokine บางตัวอาจนำเซลล์ APC ไปยังกระจกตาบริเวณตรงกลางได้บ้าง
  3. ตัว IgG , IgM ที่เป็น immunoglobulin ที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันในกระบวนการต่อต้านก็มี เฉพาะกระจกตาบริเวณขอบๆ มีน้อยมากในบริเวณตรงกลาง
  4. ตัวกระจกตาและช่องหน้าตา (anterior chamber) มีลักษณะภูมิคุ้มกันพิเศษ (immune privilege) มี ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันเฉพาะแตกต่างจากอวัยวะอื่นด้วยคุณลักษณะเฉพาะต่างๆ ของกระจกตา
  5. พบสาร FasL (CD 95) ในตัว endothelium ของกระจกตา เป็นตัวเร้าให้เกิด apoptosis (program cell death) ของเม็ดเลือดขาว lymphocyte ไม่ทันก่อให้เกิดโรค
  6. ตัว Corneal cell สร้าง protein ที่ช่วยปรับภาวะภูมิคุ้มกัน (immunoregulator protein) ลดปฏิกิริยา ภูมิคุ้มกันลงได้
  7. เชื่อว่า cell epithelium ของตาบริจาคจะถูกแทนที่ด้วย cell ของผู้ป่วยเป็นการขจัด antigen ให้เหลือ น้อยลง (หมอบางท่านอาจจะลอก epithelium จากตาบริจาคออกก่อน เป็นการลด antigen ได้ระดับหนึ่ง)
  8. ไม่มีระบบน้ำเหลืองที่กระจกตา ฯลฯ

กล่าวคือ กระบวนการ rejection ในการเปลี่ยนอวัยวะประกอบด้วยวงจรเป็น 3 ระยะ

1. Afferent phase เป็นระยะเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยด้วย สารโปรตีนที่เรียก Antigen (จากตาบริจาค) ซึ่ง ต้องประกอบด้วย

1.1 Afferent lymphatic channel เป็นน้ำเหลืองที่จะพา Antigen เข้าสู้ร่างกายผู้ป่วย

1.2 Antigen presenting cell เป็น cell ที่พร้อมจะรับ Antigen จากผู้บริจาค ได้แก่ HLA ชนิดต่างๆ (human lymphocyte antigen)

2. Processing เป็นกระบวนการที่จะเปลี่ยน Antigen ให้เป็นการตอบสนองด้วยภูมิต้านทานของ lymphocyte (immune response) ของเนื้อเยื่อผู้ป่วยซึ่งทำที่ต่อมน้ำเหลืองและม้าม อาจเรียกว่าเป็นระยะกระตุ้น (sensitization) เซลล์ lymphocyte กระบวนการที่มีเซลล์ชนิดต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง

3. Effector phase เป็นระยะไปสู่เนื้อเยื่อที่ผ่าตัด กระบวนการข้างต้นจะไปตามน้ำเหลืองไปยังกระแส เลือดสู่เนื้อเยื่อของผู้บริจาค ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านขึ้น

อาการแสดงหรือสิ่งตรวจพบที่บ่งว่าจะมี graft rejection

1. เกิดหลังเปลี่ยนกระจกตา 2 สัปดาห์ขึ้นไป และเคยมีรายงานว่าอาจเกิดแม้ผ่านไปนานถึง 20 ปี หากเกิดภายใน 2 สัปดาห์หลังผ่าตัดน่าจะไม่ใช่ graft rejection

2. หากตรวจพบอาการแสดงของการต่อต้านได้รวดเร็วให้การรักษาที่เหมาะสมมักจะรักษาได้ คือไม่จำเป็นที่ทำให้ตามัวลงทุกราย

3. ปฏิกิริยาการต่อต้านของกระจกตาอาจเป็น

3.1 เป็นที่ระดับ Epithelium เป็นเป็นฝ้าขาว นูน ชั้นผิวค่อยๆ คืบไปบริเวณศูนย์กลางกระจกตา

3.2 มีปฏิกิริยาให้ต่อชั้น epithelium บางรายอาจเห็นเป็น ฝ้าขาว หย่อมๆ คล้ายการอักเสบติดเชื้อไวรัส

3.3 Endothelial rejection เกิดที่ชั้นในสุดของกระจกตา เซลล์ชั้นในสุดถูกทำลาย อาจพบเซลล์แสดงการอักเสบที่เรียกว่า keratic precipitate เม็ดเล็กๆ ที่ชั้น endothelium ร่วมกับการอักเสบในช่องหน้าตา (anterior chamber) เมื่อ endothelium ถูกทำลาย ทำให้กระจกตาที่นำมาเปลี่ยน บวมเป็นฝ้าขาว ทำให้ผู้ป่วย ตาแดง สู้แสงไม่ได้ ตามัวลง

อย่างไรก็ตามเมื่อพบปฏิกิริยาการต่อต้าน แพทย์จะให้ยาในกลุ่ม steroid และยาในกลุ่ม cyclosporine ที่แก้ปฏิกิริยาต่อต้าน