สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน ไข้ซิกา(Zika fever)

สาระน่ารู้จากหมอตา

ระยะนี้โรคที่มียุงเป็นพาหะที่กล่าวถึงกันคือ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา(Zika virus) มีอาการคล้ายไข้เลือดออก ไข้เหลือง และ Japanese encephalitis โดยมีอาการหลัก ได้แก่ ไข้ ผื่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ตาแดง ส่วนมากอาการไม่รุนแรงหายไปได้เอง มีระยะเวลาฟักตัว 2 – 7 วัน

เชื้อ Zika พบครั้งแรกในปี 1947 โดยพบโรคนี้ในลิงที่อาศัยในป่า Zika แห่งประเทศ Uganda อันเป็นที่มาของชื่อไวรัส Zika ตามชื่อป่า ตามด้วยพบการติดเชื้อในคนโดยการตรวจยืนยันจากเลือด (พบภูมิคุ้มกันจากเลือด) ในปี 1954 โรคนี้มียุง Aedes เป็นพาหะเป็นยุงที่มีอยู่เฉพาะ tropical และ subtropical เริ่มแรกจึงมีเฉพาะในอัฟริกาและเอเชีย ปัจจุบันพบว่าเชื้อตัวนี้กระจายไปได้ทั่วโลก

การวินิจฉัยโรคด้วยอาการ ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะอาการคล้ายการติดเชื้อไวรัสทั่วไป ต้องยืนยันจากการตรวจเลือดเป็น viral culture , PCR , Elisa ตลอดจน IgM

ประเทศไทยพบมีผู้ป่วยที่ตรวจพบภูมิคุ้มกันโรคนี้ในเลือด ครั้งแรกเมื่อปี 2506 โดยยังไม่พบผู้ป่วยที่กำลังมีอาการในราวเดือนพฤษภาคม 2556 มีชาวแคนาดามาเที่ยวประเทศไทยแล้วกลับแคนาดามีอาการและเป็นโรคนี้ด้วยระยะเวลา คาดว่ามีการติดโรคจากประเทศไทย ระยะหลังเมื่อมีข่าวระบาดของโรคนี้ไปทั่วโลก ประเทศไทยก็มีรายงานการพบเชื้อจากการตรวจเลือดกระจายไปหลายจังหวัด

แม้ว่าโรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดอาการที่ร้ายแรงที่สำคัญ คือ มีอันตรายมากหากเกิดในหญิงตั้งครรภ์ จนถึงมีการประกาศให้หญิงวัยเจริญพันธ์ไม่ควรไปประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้ เพราะทำให้เด็กคลอดออกมาผิดปกติที่แจ้งกันไว้ คือ ภาวะ microcephaly

ทั้งนี้ ล่าสุดมีรายงานความผิดปกติทางตาของเด็กที่มีศีรษะเล็กที่คลอดจากหญิงที่คาดว่ามีการติดเชื้อไวรัสนี้จากประเทศบราซิลที่รายงานไว้ในวารสารการแพทย์ชื่อ JAMA Ophthalmology เมื่อ Feb 9, 2015 ในเด็ก 29 คน มีความผิดปกติทางตาซึ่งน่าจะมีปัญหาทางการมองเห็นในอนาคต 10 คน โดยพบความผิดปกติของจอตาบริเวณ macula (bilateral macular and perimacular lesion) ถึงร้อยละ 64.7 (11 ตา) พบความผิดปกติของประสาทตา (optic nerve) ถึงร้อยละ 47.1 (8 ตา) มีรอยแหว่งที่ม่านตา (bilateral iris coloboma ร้อยละ 11.8 (2 ตา) และแก้วตาเคลื่อนร้อยละ 5.9 ( 1 ตา)