สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน 49: Antioxidant กับโรคตา

ในปัจจุบันคนเรามีแนวโน้มอายุยืนขึ้น จึงมีผู้สูงอายุมากขึ้น ผู้สูงอายุมีโอกาสพบโรคที่เกิดจากความเสื่อม โดยไม่มีการติดเชื้อมากขึ้น กระบวนการเสื่อมจากความชราส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ Oxidative stress ที่เกิดขึ้นในร่างกาย

ภาวะ oxidative stress เป็นผลจากการไม่สมดุลของร่างกายจาก oxidation ที่เกิดในกระบวนการสร้างและทำลายของสิ่งต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งทำให้เกิด reactive oxygen intermediates (ROI) หรือเรียกอีกอย่างว่า สารอนุมูลอิสระ ที่ต้องถูกจำกัดโดย antioxidant หรือสารต้านอนุมูลอิสระอีกที และปฏิกิริยาดังกล่าวต้องมี antioxidant enzyme ซึ่งที่มีในตา ได้แก่ superoxide dismutase และ glutathione

โรคตาที่พบในผู้สูงอายุชนิดหนึ่งที่มีการทำลายจอตาไปเรื่อยๆ ที่เรียกกันว่า age related macular degeneration (AMD) พบในคนผิวขาวมากกว่า กรรมพันธุ์มีส่วนด้วย ผู้มีโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ ความดันโลหิตสูง อ้วน สูบบุหรี่ (คนสูบบุหรี่มีอุบัติการณ์มากกว่าคนทั่วไป 2 – 4 เท่า) ซึ่งก่อให้เกิด oxidative stress ขึ้น ปัจจุบันจึงเชื่อว่าภาวะ oxidative stress น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิด AMD จาก

1. บริเวณ macular ที่พบความผิดปกติในโรค AMD นั้น มี cone cell อยู่มาก โดยเฉพาะ outer segment มี mitochondria มาก มีการเผาผลาญมาก บริเวณนี้จึงไวต่อ oxidative stress

2. บริเวณนี้ cell มาก ต้องใช้ oxygen มาก จึงเกิด oxidation มาก

3. บริเวณนี้เป็นที่รับแสงเพื่อการมองเห็นชัดโดยเฉพาะแสงสีฟ้า (400 nm) ซึ่งก่อให้เกิด oxidative stressได้

4. ผนังของ cell รับรู้การเห็น (photoreceptor) เป็น polyunsaturated fat โดยเฉพาะ DHA ถูก oxidised เหลือปฏิกิริยาจาก oxidative process มาก

5. เนื้อเยื่อ RPE ในจอตา ทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งมี phagocytosis มีปฏิกิริยาอักเสบที่ปราศจากเชื้อ จึงเกิดภาวะ oxidative stress มาก

ดังนั้นเพื่อชะลอการเกิด AMD จึงควรทำโดยการลด oxidative stress โดยการ

1. ลดปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิด โดยเลี่ยงแสงแดด งดสูบบุหรี่ สามารถลด oxidative stress ได้

2. ลดปัจจัยภายใน โดยการลดน้ำหนักตัว ลด metabolism รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ร่วมกับการใช้สารที่เป็น antioxidant ช่วย

Antioxidant คืออะไร?

Antioxidant คือ สารที่เมื่อเราใช้ในปริมาณที่พอดี จะป้องกันขบวนการเกิด oxidative process ได้ ประกอบด้วย

- intracellular antioxidant ได้แก่พวก enzyme ต่างๆ เช่น superoxide dismutase , peroxidase รวมทั้งพวก nonenzyme ได้แก่ ascorbate , วิตามินอี และ beta carotene

- extra cellular antioxidant ได้แก่ albumin lactoferrin

ทั้งนี้ ตัว Antioxidant จะไปลดการสร้าง ROI ลด peroxide ลดการทำลาย free fatty acid ซ่อมแซมผนังเซลล์ เมื่อ ROI ลดลง ร่างกายลดความเสื่อมลง

ปัจจุบันมีการศึกษาใช้สาร antioxidant ในการป้องกันหรือชะลอภาวะ AMD และต้อกระจกซึ่งเป็นโรคตาที่พบในวัยสูงอายุที่สำคัญ เรียกกันว่า AREDS (age related eye disease study) โดยสารต่างๆ ที่ใช้ ได้แก่

1. วิตามินเอ มีหน้าที่เกี่ยวกับ cell reproduction รักษาผนังเซลล์ของ RPE และเซลล์ rod และ cone แต่ต้องรับประทานจำนวนที่เหมาะสม ถ้ามากเกินไปมีผลเสียต่อตับ อีกทั้งทำให้กระดูกพรุนได้

2. วิตามิน บี 2 และ บี 12 เป็น antioxidant ช่วยปรับผนัง mucous membrane และการทำงานของเส้นประสาท

3. วิตามินซี เป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ collagen รักษาแผลกระจกตา และยังเป็น antioxidant เพื่อรักษาส่วนที่ผิดปกติอื่นๆ

4. วิตามินอี จะร่วมกับวิตามินซีในการป้องกันการเกิด oxidative stress แต่ต้องรับประทานไม่มากเกินไป

5. เบต้า คาโรทีน (beta carotene) ร่วมกับวิตามินซีและอี ป้องกัน oxidative stress แต่มีรายงานว่า เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งปอดในคนสูบบุหรี่ จึงควรงดสูบบุหรี่ขณะรับยา หรือใช้ยาที่ไม่มีสารตัวนี้

6. ลูทีน และซีแซนติน (lutein & geaxanthin) ทำให้ macular มี pigment เพิ่มขึ้นจึงจับสารที่เป็น photosensitizer และ free radical ดูดซึมแสงสีฟ้าที่ทำลายตาได้

7. สังกะสี เป็น co-factor ของ antioxidant enzyme รวมทั้งช่วยการทำงานของวิตามินเอลด oxidative stress ลง

8. Selenium ช่วยกระตุ้น antioxidant enzyme glutathione peroxidase

อย่างไรก็ตามจาก AREDS พบว่าการใช้ยาในกลุ่มนี้ทำให้ผู้ป่วยโรค AMD ไม่ลุกลามมากขึ้นหรือลุกลามช้าลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานยา และการศึกษาไม่พบว่าจะป้องกันการเกิด AMD ในผู้ที่ยังไม่เป็น กล่าวคือ ควรใช้ยาในกลุ่มที่เป็นโรคแล้ว ยังไม่แนะนำในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคนี้