สารพันปัญหากับไทรอยด์ (ตอนที่ 9)

สารพันปัญหากับไทรอยด์-8

ปัจจัยเสี่ยงของโรคคอพอก ได้แก่

  • การขาดสารไอโอดีน
  • เพศหญิง
  • อายุ (ส่วนใหญ่มีอายุเกิน 40 ปี)
  • มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง
  • ยาบางชนิด เช่น ยารักษาหัวใจ Amiodarone ยารักษาโรคจิต Lithium
  • การได้รับรังสีที่บริเวณคอหรือหน้าอก

อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคคอพอกเล็กน้อยอาจไม่ทำให้เกิดปัญหา แต่สำหรับคอพอกที่มีขนาดใหญ่จะทำให้มีปัญหาเรื่องการหายใจและการกลืน ทั้งยังทำให้ไอและเสียงแหบได้ ส่วนคอพอกที่เกิดจากภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนที่มากหรือต่ำเกินไปอาจทำให้มีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิด และนอนไม่หลับ

การวินิจฉัยว่าเป็นโรคคอพอกอาจทำได้โดย

  • การทดสอบฮอร์โมน (Hormone test)
  • การทดสอบแอนติบอดี (Antibody test)
  • การตรวจอัตราซาวด์ (Ultrasonography)
  • การสแกนต่อมไทรอยด์ (Thyroid scan)
  • การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (Biopsy)

สำหรับการรักษาโรคคอพอกขึ้นอยู่กับขนาด สาเหตุ และอาการ ซึ่งแพทย์อาจให้

  • สังเกต (Observation) – กรณีที่คอโตไม่มากและไทรอยด์ทำงานปกติ ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหา
  • ใช้ยาเพื่อทำให้ระดับฮอร์โมนและขนาดคอกลับสู่ปกติ เช่น ในกรณีที่มีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนอาจให้ ยา Levothyroxine รวมถึงยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบ
  • ผ่าตัด กรณีที่ทำให้กลืนหรือหายใจลำบาก
  • ใช้รังสีไอโอดีน

ส่วนกรณีที่เป็นโรคคอพอกเพราะขาดสารไอโอดีน จะทำการเพิ่มสารไอโอดีนด้วยการกินอาหารทะเล สาหร่าย หรือเกลือผสมไอโอดีน เพื่อให้ได้ไอโอดีนประมาณวันละ 150 มิลลิกรัม อย่างไรก็ดี ต้องระวังไม่ให้มีไอโอดีนเกินขนาดด้วย เพราะบางครั้งไอโอดีนที่มากเกินก็ทำให้เกิดโรคคอพอกได้เช่นกัน

แหล่งข้อมูล:

    1. Goiter. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/goiter/home/ovc-20264589 [2017, July 02].