สารพันปัญหากับไทรอยด์ (ตอนที่ 4)

สารพันปัญหากับไทรอยด์-4

สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินเกิดได้จาก

  • โรคเกรฟส์ (Graves disease) ที่ทำให้มีการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนที่มาก โดยร้อยละ 70 ของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินเกิดจากโรคเกรฟส์
  • เนื้องอกต่อมไทรอยด์ชนิดเป็นพิษ (Toxic adenomas) ทำให้เกิดความไม่สมดุลของสารเคมีในร่างกาย
  • โรคไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute thyroiditis) ซึ่งทำให้ต่อมหลั่งฮอร์โมนออกมามากชั่วคราวนาน 2-3 สัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือน
  • ต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติหรือมีการโตของเซลล์มะเร็งในต่อมไทรอยด์
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินสามารถทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ดังต่อไปนี้

  • โรคหัวใจ ซึ่งเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) และ ภาวะหัวใจวาย (Congestive heart failure)
  • กระดูกเปราะ / กระดูกพรุน (Brittle bones / Osteoporosis) เพราะความแข็งแรงของกระดูกขึ้นกับปริมาณแคลเซียมและแร่ธาตุ การที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนมากจะขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียมในกระดูก
  • โรคตาโปน (Graves' ophthalmopathy) ที่ทำให้ตาปูดโปน แดงหรือบวม ไวต่อแสง เห็นภาพซ้อนหรือไม่ชัด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้
  • ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤต (Thyrotoxic crisis) ที่ทำให้อาการเป็นมากขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น เป็นไข้สูง เพ้อ ชีพจรเต้นเร็ว
  • การวินิจฉัยภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินทำได้โดย

  • การสอบประวัติและตรวจร่างกาย เช่น ดูอาการสั่นของนิ้วมือ การเปลี่ยนแปลงของตา อาการบวมของคอ การเต้นของชีพจร เป็นต้น
  • การตรวจเลือด เพื่อดูค่า T4 และ ค่า TSH หากมีค่า T4 มากแต่ ค่า TSH น้อย แสดงว่ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
  • การตรวจการเก็บรังสีไอโอดีน หรือที่เรียกกันว่า Radio iodine uptake test (RAIU) หากพบว่าค่านี้สูงก็แสดงว่ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
  • การสแกนไทรอยด์ (Thyroid scan)
  • การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินทำได้โดย

  • การใช้ไอโอดีนรังสี (Radioactive Iodine = R.A.I.): เพื่อให้ต่อมไทรอยด์หดตัวและอาการทุเลา มักใช้เป็นระยะเวลา 3-6 เดือน เพื่อให้การทำงานของไทรอยด์ลงลด อย่างไรก็ดีการรักษานี้อาจทำให้เกิดภาวะพร่องไทรอยด์ได้ ดังนั้นจึงอาจต้องกินยาเพื่อทดแทนฮอร์โมนแทน (ห้ามใช้วิธีนี้ในหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร)
  • แหล่งข้อมูล:

    1. Hyperthyroidism (overactive thyroid). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperthyroidism/basics/definition/con-20020986 [2017, June 27].
    2. Hyperthyroidism (Overactive). https://www.thyroid.org/hyperthyroidism/ [2017, June 27].
    3. Understanding Thyroid Problems -- the Basics. http://www.webmd.com/women/guide/understanding-thyroid-problems-basics#1 [2017, June 27].