สารพันปัญหากับไทรอยด์ (ตอนที่ 2)

สารพันปัญหากับไทรอยด์-2

โรคผิดปกติที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์มีหลายอย่าง เช่น

  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism): ที่มีการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนที่มากเกิน มักมีสาเหตุเกิดจากโรคเกรฟส์ (Graves disease) หรือโรคปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Overactive thyroid nodule)
  • ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism): ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์ถูกทำลายเพราะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune condition)
  • โรคคอพอก (Goiter): เป็นอาการบวมของต่อมไทรอยด์ คอพอกอาจไม่มีอันตราย หรืออาจแสดงถึงการขาดสารไอโอดีน หรือแสดงถึงอาการอักเสบของต่อมไทรอยด์ที่เรียกว่า Hashimoto’s thyroiditis.
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis): มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือภูมิคุ้มกันทำลาย ซึ่งอาจจะมีอาการปวดหรือไม่ปรากฏอาการก็ได้
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer): สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี และการรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormone treatments)
  • โรคปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule): ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนที่มาก เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน หรืออาจไม่แสดงอาการก็ได้ เป็นโรคที่พบได้มาก มีเพียงส่วนน้อยที่อาจพัฒนาไปเป็นมะเร็ง
  • โรคคอพอกตาโปน หรือที่เรียกว่า โรคเกรฟส์ (Graves disease): มีก้อนที่คอโต ตาโปน ผิวเหมือนเปลือกส้มเหนื่อยง่าย น้ำหนักลดร่วมกับอยากอาหาร หัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้ออ่อนแรงและอาการอื่นๆ ของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

สำหรับการทดสอบหาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Tests) โดยทั่วไป สามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การตรวจหาค่า Anti-TPO antibodies
  • การอัลตราซาวด์ไทรอยด์ (Thyroid ultrasound)
  • การสแกนไทรอยด์ (Thyroid scan) ด้วยการใช้รังสีไอโอดีน (Radioactive iodine)
  • การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมไทรอยด์ส่งตรวจ (Thyroid biopsy)
  • การตรวจฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (Thyroid stimulating hormone = TSH) หากมีค่านี้สูงแสดงว่ามีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน แต่ถ้าค่านี้ต่ำแสดงว่ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
  • การตรวจค่าฮอร์โมน T3 (Triiodothyronine) และ T4 (Thyroxine)
  • การตรวจค่า Thyroglobulins เพื่อหามะเร็งต่อมไทรอยด์
  • การตรวจอื่นๆ เช่น CT scans, MRI scans, หรือ PET scans

ส่วนวิธีการรักษาโรคต่อมไทรอยด์ทั่วไป ได้แก่

  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy): เพื่อตัดเอาทั้งหมดหรือบางส่วนของต่อมไทรอยด์ออก มักใช้ในกรณีของโรคมะเร็งไทรอยด์ โรคคอพอก หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
  • การใช้ยาต้านไทรอยด์ (Antithyroid medications): เพื่อลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ลงในกรณีของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โดยยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยา Methimazole และยา Propylthiouracil

แหล่งข้อมูล:

  1. Picture of the Thyroid. http://www.webmd.com/women/picture-of-the-thyroid#1 [2017, June 25].