สารพันปัญหากับไทรอยด์ (ตอนที่ 12)

สารพันปัญหากับไทรอยด์-12

สำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ทำได้โดย

  • การตรวจอัลตราซาวด์ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้เพื่อดูจำนวนก้อนเนื้อ ขนาดรูปร่าง
  • การเจาะดูดด้วยเข็มเพื่อดูลักษณะเซลล์ (Fine needle aspiration biopsy = FNA) โดยแสดงผลได้ดังนี้
    1. Malignant: เป็นเนื้อร้ายทั้งหมด
    2. Suspicious for malignancy: มีโอกาสเป็นเนื้อร้ายร้อยละ 50-75
    3. Follicular carcinoma: โอกาสเป็นเนื้อร้ายร้อยละ 20-30
    4. Atypical cells of unknown significance: โอกาสเป็นเนื้อร้ายร้อยละ 5-10
    5. Benign: โอกาสเป็นเนื้อร้ายน้อยกว่าร้อยละ 1
  • การกลืนรังสี (Ingesting radioactive iodine) และสแกนด้วยเครื่อง เพื่อดูว่าต่อมไทรอยด์หรือก้อนเนื้อมีการดูดซืมไอโอดีนได้มากแค่ไหน ถ้าเป็นก้อนที่ดูดไอโอดีนมาก (Hot nodule) ก็มักจะไม่เป็นมะเร็ง แต่ถ้าเป็นก้อนที่ดูดไอโอดีนได้น้อย (Cold nodule) ก็มักจะเป็นมะเร็ง
  • การตรวจเลือด เพื่อดูค่าไทรอยด์ฮอร์โมนและสารต่างๆ เช่น แคลเซียม ว่ามีมากหรือน้อยแค่ไหน
  • การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ
  • การตรวจโดยใช้ CT Scan, MRI, หรือ PET Scan
  • การทดสอบยีน (Genetic testing)

การรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน และขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพของผู้ป่วย โดยมี

  • การผ่าตัด ซึ่งทำได้ด้วย
    1. การตัดต่อมไทรอยด์ออกข้างเดียว (Lobectomy)
    2. การตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมด (Total thyroidectomy) ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กัน
    3. การตัดต่อมน้ำเหลือง (Lymph node resection) กรณีที่มีการแพร่กระจายของมะเร็ง
    4. ทั้งนี้ การผ่าตัดไทรอยด์มีความเสี่ยงในเรื่องของการเลือดไหลไม่หยุดและการติดเชื้อ หรือระหว่างการผ่าตัดอาจมีความเสี่ยงในการไปทำลายต่อมพาราไทรอยด์หรือเส้นประสาทที่ติดกับเส้นเสียง ทำให้เสียงแหบ เสียงเบา หรือหายใจลำบากได้

      • การกินยาไทรอยด์ฮอร์โมนเพื่อชดเชยในกรณีที่มีการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกไป เช่น ยา Levothyroxine
      • การฉายรังสี (Radiation therapy)
      • การกลืนรังสีหลังการผ่าตัด ซึ่งมีผลขางเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ อาการคลื่นไส้ ปากแห้ง ตาแห้ง อ่อนเพลีย การรับรู้รสและกลิ่นเปลี่ยนไป นอกจากนี้เนื่องจากรังสีจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ดังนั้นหลังการกลืนรังสี 2-3 วัน ผู้ป่วยอาจต้องแยกตัวอยู่ลำพังเพื่อป้องกันไม่ให้รังสีไปกระทบผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กและหญิงมีครรภ์
      • การฉีดแอลกอฮอล์ไปที่มะเร็ง (Alcohol ablation) ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงบริเวณนั้นๆ ได้ระหว่างการผ่าตัด
      • การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted drug therapy) ในกรณีที่รุนแรง เช่น ยา Cabozantinib ยา Sorafenib และ ยา Vandetanib
      • การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care)
      • แหล่งข้อมูล:

        1. Thyroid cancer. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/thyroid-cancer/home/ovc-20315670 [2017, July 09].
        2. Thyroid cancer facts. http://www.medicinenet.com/thyroid_cancer/article.htm [2017, July 09].