สวยหลอกแต่น่ากลัวจริง (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

สวยหลอกแต่น่ากลัวจริง

ความเสี่ยงของการฉีดฟิลเลอร์ที่พบได้น้อย เช่น

  • ทำให้เกิดก้อนเนื้อใต้ผิวหนัง (Nodules or granulomas)
  • ติดเชื้อ
  • เกิดปฏิกริยาแพ้ (Allergic reaction)
  • เนื้อตาย (Necrosis)

ความเสี่ยงที่ไม่ค่อยพบ ได้แก่

  • มีอาการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylactic shock)
  • มีการเคลื่อนที่ของสารฟิลเลอร์ไปจากบริเวณที่ฉีด
  • มีก้อนเนื้อถาวรบริเวณใบหน้าหรือที่มือ
  • การมองเห็นผิดปกติ รวมถึงตาบอด
  • มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • ผิวหนังหรือริมฝีปากถูกทำลาย

ทั้งนี้ หากต้องการนำสารฟิลเลอร์ออกจากร่างกายด้วยการผ่าตัด ก็อาจจะมีอันตรายที่เกิดจากการผ่าตัด ดังนั้นจึงควรระลึกว่าการเอาฟิลเลอร์ออกนั้นอาจจะทำได้ยาก

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ถึงกรณีการฉีดฟิลเลอร์

  • หาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง (Dermatology) หรือศัลยกรรมตกแต่ง (Plastic surgery) ที่มีประสบการณ์หรือได้รับการฝึกฝนในการฉีดฟิลเลอร์จริงๆ (เพราะการเลือกชนิดของฟิลเลอร์ เทคนิคการฉีดหรือความช้าเร็วในการฉีดสารเข้าร่างกาย การสังเกตอาการของคนไข้ระหว่างฉีด และอื่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นต่อความปลอดภัยของคนไข้เอง)
  • ก่อนฉีด ถามแพทย์ให้ทราบถึงวิธีการดูแลรักษาและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • แจ้งแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างหรือหลังการฉีด เช่น ปวดผิดปกติ การมองเห็นผิดปกติ ชาหรืออ่อนแรง หน้าตก (Face drooping) พูดลำบาก เป็นต้น

และไม่ควรทำการฉีดเลยหากมีอาการดังต่อไปนี้

  • ผิวหนังอักเสบหรือติดเชื้อ
  • มีอาการเลือดไหลผิดปกติ
  • มีประวัติการแพ้ที่รุนแรง (Anaphylaxis)
  • มีประวัติการแพ้ต่อผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์
  • มีประวัติการแพ้ยาชาลิโดเคน (Lidocaine)
  • มีประวัติการแพ้แบคทีเรีย (กรณีมีการเพาะเชื้อแบคทีเรียของกรดไฮยาลูโรนิก)

อนึ่ง การฉีดโบท็อกซ์เป็นการฉีดยา (Injectable drugs) ไม่ใช่สารฟิลเลอร์ โบท็อกซ์จะทำงานโดยทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้นเพื่อไม่ให้เห็นรอยย่น

แหล่งข้อมูล

  1. Soft Tissue Fillers (Dermal Fillers). http://www.fda.gov/MedicalDevices/ProductsandMedicalProcedures/CosmeticDevices/WrinkleFillers/ucm2007470.htm [2015, September 1].
  2. Filling in Wrinkles Safely? http://www.fda.gov/ForConsumers/ConsumerUpdates/ucm049349.htm [2015, September 1].