สยบไข้เลือดออกด้วย “โมโนโคลนอล แอนติบอดี” (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

การใช้โมโนโคลนอล แอนติบอดี (Monoclonal Antibody : MA) เพียงอย่างเดียวเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดยบางตัวจะทำหน้าที่เป็นสารชี้มะเร็งเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันทำลายได้ อย่างไรก็ดีการใช้ MA เพียงอย่างเดียวอาจไม่ทำปฏิกริยากับระบบภูมิคุ้มกัน แต่จะใช้การประกบติดสารก่อภูมิต้านทานเฉพาะ (Specific antigens) เพื่อหยุดยั้งการทำงานของเซลล์มะเร็งที่กำลังเจริญเติบโต ทั้งนี้ตัวอย่างของยาที่องค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration : FDA) สหรัฐอเมริกา ให้การรับรองก็คือ

  • Trastuzumab ซึ่งใช้เป็นสารภูมิต้านทานกับโปรตีน HER2 [Human epidermal growth factor receptor เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง] Trastuzumab จะหยุดยั้งการทำงานของโปรตีนชนิดนี้ ใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งเต้านมที่มีระดับของโปรตีน HER2 สูง
  • Bevacizumab ใช้เป็นยาไปจับกับโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Vascular Endothelial Growth Factor (VEGF) ซึ่งมีหน้าที่เป็นสารกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดดำใหม่ เมื่อยาจับกับ VEGF ส่งผลให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและการเกิดใหม่ของเส้นเลือด เมื่อเซลล์มะเร็งขาดหลอดเลือดนำส่งอาหารและออกซิเจน จะทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงและลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ ยานี้มักใช้ควบคู่กับเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็งในลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม และอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อใช้รักษามะเร็งตัวอื่นๆ

การใช้ MA ร่วมกับการรักษาอย่างอื่น เช่น การรักษาโดยใช้สารกัมมันตภาพรังสี (Radioimmunotherapy : RIT) ซึ่งเป็นการเอาสารที่ปล่อยรังสีรักษาออกมาต่อเข้ากับ MA กรณีนี้ MA ก็จะทำหน้าที่เหมือนจรวดนำวิถี พุ่งไปหาเซลล์มะเร็ง พอจับเป้าหมายได้ รังสีก็จะทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไม่ไปกระทบกับเซลล์ดีๆ และสามารถทำลายเซลล์มะเร็งแบบที่เป็นก้อนใหญ่ได้ดีกว่าการใช้ MA เพียงอย่างเดียว เพราะรังสีมีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่า

ปัจจุบันได้มีการ MA อยู่ 4 ชนิด คือ (1) Murine (2) Chimeric (3) Humanized และ (4) Human ในระยะแรกๆ จะเป็นแบบรักษาด้วย Murine monoclonal antibodies (ยามักลงท้ายชื่อด้วย –omaab) โดยการรักษา Murine มักไม่ค่อยประสบผลสำเร็จนัก เนื่องจากว่ามีอายุสั้นในร่างกาย มีการทะลุทะลวงก้อนเนื้องอกที่จำกัด ทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้และบางทีก็ทำให้เกิดภาวะช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock)

ส่วนการรักษาด้วย Chimeric and humanized monoclonal antibodies (ยามักลงท้ายชื่อด้วย – ximab และ –zumab ตามลำดับ) โดย Chimeric antibodies เป็นแอนติบอดีที่ผสมกันระหว่างส่วนประกอบของหนูและคน หากมีการใช้ส่วนประกอบของคนมากขึ้นก็จะเรียกว่า Humanized antibodies

ทั้งสองชนิดนี้ช่วยลดการตอบสนองภูมิคุ้มกัน (Immunogenicity) และเพิ่มจำนวนครึ่งชีวิตของเซรุ่ม (Serum half-life) [ครึ่งชีวิต (t½ = Half-life) คือ เวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่เดิม มักใช้เพื่ออธิบายคุณสมบัติของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี แต่อาจจะใช้เพื่ออธิบายปริมาณใดๆ ก็ตามที่มีสลายตัวทวีคูณ (Exponential) ด้วย]

การรักษาด้วย Human monoclonal antibodies (ยามักลงท้ายชื่อด้วย –umab) ผลิตโดยการเปลี่ยน Immunoglobulin genes เป็น Murine genome ผลิตขึ้นจากแอนติบอดีของหนูที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม ทำให้เกิดการสร้างสารก่อภูมิต้านทาน (Antigen) ที่ต้องการ

แหล่งข้อมูล

  1. What are Humanized Monoclonal Antibodies? http://pdl.com/technology-products/what-are-humanized-monoclonal-antibodies/ [2013, July 22].
  2. Monoclonal antibody therapy. http://en.wikipedia.org/wiki/Monoclonal_antibody_therapy [2013, July 22].