สมองเนื้อสีเทา สมองเนื้อเทา (Gray matter) สมองเนื้อสีขาว สมองเนื้อขาว (White matter)

1. สมองเนื้อสีเทา หรือ สมองเนื้อเทา (Gray matter หรือ Grey matter) คือเนื้อสมองและไขสันหลังที่ประกอบด้วย เซลล์ประสาท (Neuron), เดนไดรต์, แอกซอน, เซลล์ที่ไม่ ใช่เซลล์ประสาท ที่เรียกว่า เซลล์เกลีย (Glia cell, มีหน้าที่ช่วยการทำงานของเซลล์ประสาท) และหลอดเลือดฝอย ที่เป็นส่วนทำให้เนื้อเยื่อนี้มีสีออกเทาน้ำตาล ที่เป็นที่มาของชื่อเนื้อเยื่อนี้ว่า “เนื้อสีเทา หรือ เนื้อเทา”

สมองเนื้อสีเทา จะอยู่รอบนอกของ สมองใหญ่ สมองน้อย ก้านสมอง และในส่วนลึกของสมอง เช่น สมองไฮโปธาลามัส แต่จะอยู่ด้านในของเนื้อเยื่อไขสันหลัง

สมองเนื้อสีเทา มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ และการให้ความรู้สึก ทั้งประ สาทสัมผัส ความนึกคิด ความจำ การเห็น การพูด การได้ยิน ซึ่งเนื้อสีเทานี้ มีความต้องการใช้ออกซิเจนในการทำงานสูงกว่าเนื้อเยื่อทุกชนิดของร่างกาย ที่รวมถึงเนื้อเยื่ออื่นๆของระบบประ สาทด้วย คือ ประมาณ 95% ของออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองทั้งหมด ดังนั้นภาวะสมองขาดออก ซิเจน (ขาดเลือด) เช่น ในโรคหลอดเลือดสมอง จึงมีผลกระทบรุนแรงต่อเนื้อสีเทา ซึ่งส่งผลให้เกิด ภาวะ อัมพฤกษ์ อัมพาต

2. สมองเนื้อสีขาว หรือสมองเนื้อขาว (White matter) เป็นเนื้อเยื่อที่ในสมองจะอยู่ใต้ต่อเนื้อสีเทา แต่ในไขสันหลังจะเป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกของเนื้อสีเทา

สมองเนื้อสีขาว เป็นเนื้อเยื่อที่ไม่มีเซลล์ประสาท มีแต่ เซลล์เกลียและแอกซอน มีหน้าที่ในการช่วยส่งสัญญาณ/กระแสประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท

สีของสมองเนื้อสีขาว เป็นสีที่เกิดจากแอกซอน ที่มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นไขมันและหลอดเลือดฝอย มีสีออกชมพู-ขาว แต่เมื่อนำมาแช่ในน้ำยาฟอร์มาลินที่ช่วยเก็บรักษาเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อนี้จะให้เป็นสีออกขาว ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เนื้อสีขาว หรือ เนื้อขาว”

บรรณานุกรม

  1. Gray matter http://en.wikipedia.org/wiki/Grey_matter [2013,Dec11],
  2. White matter https://en.wikipedia.org/wiki/White_matter [2013,Dec11].