สถานพยาบาลระยะสุดท้าย (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

สถานพยาบาลระยะสุดท้าย

ทั้งนี้ บริการที่สถานพยาบาลระยะสุดท้ายโดยทั่วไปมักจะมี ได้แก่

  • การดูแลรักษาทางการแพทย์เบื้องต้นที่เน้นเรื่องการบรรเทาความเจ็บปวดและอาการที่เกิดขึ้น
  • การให้บริการด้านอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็น
  • การให้คำปรึกษาทางด้านอารมณ์และจิตใจสำหรับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย
  • การให้คำแนะนำผู้ป่วยในสิ่งที่ยากแต่เป็นเรื่องธรรมชาติ กล่าวคือ การเตรียมตัวตาย
  • การให้คำแนะนำญาติผู้ป่วยในการดูแลผู้ป่วย
  • การดูแลผู้ป่วยแบบชั่วคราวระยะสั้น (Respite care) เพื่อให้ผู้ดูแลหรือญาติได้พักจากการดูแลผู้ป่วย ซึ่งผู้ดูแลได้มีโอกาสคลายเครียดหรือมีโอกาสไปประกอบภารกิจอื่นๆ หรือในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ดูแลไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ดูแลและเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในระยะยาว
  • บริการอื่นๆ เช่น การเตรียมอาหาร การจัดการด้านกฏหมาย ธุรกรรม พิธีกรรมต่างๆ
  • การให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือมีการเยี่ยมบ้านสัปดาห์ละครั้งหรือมากกว่า (กรณีผู้ป่วยรักษาตัวที่บ้าน)
  • การให้คำปรึกษาผู้ที่ยังโศกเศร้าอยู่หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว

โดยผู้เกี่ยวข้องที่ร่วมในการให้บริการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายอาจประกอบด้วย

  • แพทย์
  • พยาบาล
  • นักจิตวิทยา
  • นักสังคมสงเคราะห์
  • ผู้ให้คำแนะนำเรื่องพิธีกรรม (Spiritual advisers)
  • นักกฏหมาย (กรณีมีการทำพินัยกรรม การทำธุรกรรมทางกฏหมาย เป็นต้น)

เนื่องจากในสหรัฐอเมริกา บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการใช้บริการของสถานพยาบาลระยะสุดท้าย ดังนั้นจึงมีหลักเกณฑ์หลักๆ อยู่ 2 ข้อ สำหรับผู้ที่จะสามารถขอใช้บริการได้ คือ

  • เป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาได้ หรือที่เรียกว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal illness)
  • มีการประเมินจากแพทย์ว่า ผู้ป่วยจะมีชีวิตอีกได้ 6 เดือน หรือน้อยกว่า

อนึ่ง ความแตกต่างของ Hospice care กับ Palliative care ก็คือ

Hospice care เป็นการให้การดูแลประคับประคองอาการในช่วงสุดท้ายของโรคซึ่งรักษาไม่ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้ คำนึงถึงคุณภาพชีวิต (Quality of life) ในชีวิตที่เหลืออยู่มากกว่า และจะมุ่งเน้นการ รักษาที่รักษาคุณภาพชีวิตเป็นหลัก ซึ่งจะไม่เร่งรัดหรือยืดความตายออกไป ส่วน Palliative care ก็มีเป้าหมายเช่นเดียวกับ Hospice care คื อเป็นการดูแลประคับประคองอาการ แต่จะต่างกันตรงที่ระยะเวลาในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ของผู้ป่วย

กล่าวคือ Hospice care ส่วนใหญ่จะทำในผู้ป่วยที่พยากรณ์โรคแล้วน่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน แต่สำหรับ Palliative care นั้นจะเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมีภาวะหรือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตเหลืออยู่อีกนานเท่าไร

แหล่งข้อมูล

1. มธ.เตรียมเปิดศูนย์ธรรมศาสตร์ธรรมรักษ์รองรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิถีธรรมชาติ. https://www.nationalhealth.or.th/node/1162 [2017, April 12].

2. Hospice Care - Topic Overview. http://www.webmd.com/balance/tc/hospice-care-topic-overview#1 [2017, April 12].