สตีเว่น จอห์นสัน (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

สตีเว่นจอร์-4

      

      

      การรักษาจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งมักจะให้อยู่ในห้องดูแลผู้ป่วยหนัก (Intensive care unit = ICU) หรือหอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก (Burn unit) โดย

      - หยุดยาที่ทำให้แพ้

      - รักษาตามอาการ (Supportive care) เช่น

  • ให้สารน้ำและสารอาหาร – เพราะปัญหาผิวหนังอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ
  • รักษาแผล – ด้วยการประคบเย็น เอาเซลล์ผิวหนังที่ตายออกและทายาหรือตกแต่งแผล
  • รักษาตา – ด้วยจักษุแพทย์
  • รักษาปาก – โดยใช้น้ำยาบ้วนปากและทายา

      - การให้ยา เช่น

  • ยาแก้ปวด
  • ยาลดการอักเสบของตาและเยื่อบุส่วนต่างๆ
  • ยาปฏิชีวนะที่ควบคุมการติดเชื้อ
  • ยาอื่นๆ ตามความรุนแรง เช่น ยาสเตียรอยด์ อิมมิวโนโกลบูลิน (Immune globulin) เป็นต้น

      ทั้งนี้ ภายหลังการรักษาอาจมีผลกระทบต่อร่างกายที่ตามมาอีกนาน เช่น

  • เป็นแผลเป็นที่ผิวหนัง สีผิวเปลี่ยนไป
  • ตาแห้ง และปวดตาเมื่อเจอแสงจ้า
  • มีปัญหาเรื่องการมองเห็น
  • ติดเชื้อที่เหงือกหรือปาก
  • มีปัญหาเรื่องปอด เช่น โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchiolitis) ซึ่งทำให้มีอาการไอและหายใจลำบาก
  • เล็บไม่งอก
  • ภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบ (Phimosis) หรือ ช่องคลอดตีบตัน (Occluded vagina)
  • ข้อยึด (Joint contractures)

      ส่วนการดูแลตัวเองนั้นสามารถทำได้ด้วยการ

  • รู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ชื่อยา
  • แจ้งแพทย์ให้ทราบว่ามีประวัติการเป็นสตีเว่นจอห์นสัน
  • ใส่กำไลข้อมือ (Bracelet) หรือสร้อยคอ (Necklace) ที่ระบุชื่อโรค ชื่อยาที่แพ้ และอื่นๆ

แหล่งข้อมูล:

  1. Stevens-Johnson syndrome. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/stevens-johnson-syndrome/symptoms-causes/syc-20355936 [2018, June 21].
  2. Stevens-Johnson Syndrome (SJS). https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/stevens-johnson-syndrome#1 [2018, June 21].
  3. Stevens–Johnson syndrome / toxic epidermal necrolysis. https://www.dermnetnz.org/topics/stevens-johnson-syndrome-toxic-epidermal-necrolysis/ [2018, June 21].