วิกฤติเชื้อดื้อยา (ตอนที่ 5)

วิกฤติเชื้อดื้อยา

ส่วนการติดต่อการดื้อยาปฏิชีวนะในที่ชุมชน อาจเกิดขึ้นได้เสมอเป็นปกติ ดังนั้น ทางที่จะป้องกันการติดเชื้อในที่ชุมชนสามารถทำได้โดย

  • ล้างมือก่อนและหลัง การจับอาหาร การเข้าห้องน้ำ ฯลฯ
  • ปิดจมูกและปากเมื่อไอหรือจาม
  • ใช้ทิชชูเช็ดจมูก
  • ทิ้งทิชชูในถังขยะ
  • อย่าถ่มน้ำลาย
  • พักอยู่บ้านหากรู้สึกไม่สบาย
  • อย่าให้เด็กไปโรงเรียนถ้ารู้สึกว่าไม่สบาย
  • ถ้าแพทย์ให้กินยาปฏิชีวนะให้กินให้ครบคอร์ส อย่าหยุดเพราะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้ว
  • ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นให้กลับไปพบแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีโฆษณาว่ามียาปฏิชีวนะหรือยาต้านแบคทีเรีย นอกจากแพทย์แนะนำให้ใช้

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เล็งเห็นถึงวิกฤติเชื้อดื้อยา จึงได้มีการวางแผนระดับโลก มีเป้าหมายเพื่อป้องกันและรักษาโรคที่ติดเชื้อด้วยยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผล โดยแผนการต่อต้านการดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistance) มีดังนี้

  • ให้มีการตื่นตัวและเข้าใจถึงการดื้อยาต้านจุลชีพ
  • สนับสนุนให้มีการควบคุมและวิจัย
  • ลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ
  • ใช้ยาต้านจุลชีพให้เกิดประโยชน์ที่สุด
  • มีการลงทุนอย่างถาวรเพื่อการจัดการกับการดื้อยาต้านจุลชีพ

สำหรับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของการดื้อยาปฏิชีวนะในแต่ละระดับมีดังนี้

ระดับบุคคล

  • ใช้ยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น อย่าใช้โดยไม่จำเป็น
  • ปฏิบัติตามการคำแนะนำของแพทย์ในการใช้ยา เพื่อให้เกิดประสิทธิผลให้ใช้ยาให้ครบคอร์สตามที่แพทย์สั่ง
  • อย่าใช้ยาร่วมกับคนอื่นหรือใช้ยาที่เหลือจากคนอื่น
  • ป้องกันการติดเชื้อโดยทั่วไปได้ด้วยการล้างมือให้สะอาด เตรียมอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และฉีดวัคซีนป้องกัน

บรรณานุกรม

1. Antibiotic resistance. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/antibiotic-resistance/en/ [2016, November 30].

2. Antibiotic resistant bacteria. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/antibiotic-resistant-bacteria [2016, November 30].