วิกฤติเชื้อดื้อยา (ตอนที่ 4)

วิกฤติเชื้อดื้อยา

เชื้อแบคทีเรียจะดื้อยาได้ใน 2 ลักษณะ คือ

1. Intrinsic resistance - เป็นการดื้อยาโดยธรรมชาติของแบคทีเรียเอง เช่น แบคทีเรียบางชนิดที่ไม่มีผนังเซลล์ จะดื้อกับยา Penicillin เพราะยานี้จะที่ทำหน้าที่ป้องกันการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นยาจึงไม่มีผลทำอันตรายเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้

2. Acquired resistance – เป็นการดื้อยาที่พบในแบคทีเรียบางสายพันธุ์หรือบางประชากรของแบคทีเรียสายพันธุ์นั้นๆ ทำให้แบคทีเรียที่เคยถูกทำลายได้ด้วยยาปฏิชีวนะกลายเป็นแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรแบคทีเรีย จากกลไกต่างๆ ดังนี้

2.1 โดยการกลายพันธุ์ (Genetic mutation) การกลายพันธุ์บางชนิดสามารถทำให้เชื้อแบคทีเรียผลิตเอนไซม์บางอย่างที่ทำให้ยาปฏิชีวนะไม่มีผล ในขณะที่การกลายพันธุ์บางชนิดสามารถกำจัดเซลล์เป้าหมาย (Cell target) ที่ยาปฏิชีวนะไปรักษา หรือบางทีก็ปิดกั้นไม่ให้ยาปฏิชีวนะเข้าถึงข้างในเซลล์ หรือบางทีจะขับยาปฏิชีวนะออกจากเซลล์ทำให้ยาไม่สามารถเข้าถึงในเซลล์ได้

2.2 การดื้อยาเป็นผลมาจากแบคทีเรียตัวอื่น (Acquiring resistance from another bacterium) มีหลายวิธีที่การดื้อยาเป็นผลมาจากแบคทีเรียตัวอื่นมีการโอนถ่ายยีนที่ดื้อยาถึงกันได้ อย่าง

  • การสืบพันธุ์แบบคอนจูเกชั่น (Conjugation)
  • การสืบพันธุ์แบบทรานสฟอร์เมชัน (transformation)
  • การสืบพันธุ์แบบทรานสดักชัน (transduction)

อย่างไรก็ดี แบคทีเรียที่เคยดื้อยาก็อาจจะกลายสภาพกลับมาเป็นปกติไม่ดื้อยา และสามารถตอบสนองต่อการใช้ยาปฏิชีวนะได้ แต่จะเป็นกระบวนการพลิกกลับ (Reverse process) ที่เกิดขึ้นช้ากว่า หากปัจจัยที่เรียกว่า Selection pressure ได้ถูกนำออกไป

ทั้งนี้ การติดต่อการดื้อยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาล อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการสัมผัสกับสิ่งที่มีเชื้อ เช่น มือของบุคลากร ที่จับประตู โต๊ะหัวเตียง กระดิ่ง อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ดังนั้น ทางที่จะป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลสามารถทำได้ เช่น

  • มีสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือก่อนและหลังการสัมผัสกับผู้ป่วย
  • สวมถุงมือ เสื้อกาวน์ หน้ากาก
  • เทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic techniques)

บรรณานุกรม

1. General Background: About Antibiotic Resistance. http://emerald.tufts.edu/med/apua/about_issue/about_antibioticres.shtml [2016, November 29].

2. Antibiotic resistant bacteria. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/antibiotic-resistant-bacteria [2016, November 29].