วัคซีนสำหรับสตรีตั้งครรภ์ (Guidelines for Vaccinating Pregnant Women)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

วัคซีน (Vaccines) เป็นสารชีววัตถุ (Biological preparation หรือ Biological product) ที่ได้จากจุลชีพ หรือสารชีวพิษ (Toxin) ของเชื้อโรค เพื่อใช้ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน/ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือสารพิษต่างๆ มนุษย์ได้เรียนรู้การพัฒนาวัคซีนมานานแล้วจากความพยายามในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเช่น การปลูกฝีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) เป็นต้น

แม้วัคซีนมีที่มาจากตัวของจุลชีพเองหรือจากสารพิษ แต่ก็ได้มาผ่านกระบวนการทางการ แพทย์ที่ทำให้จุลชีพหรือสารพิษเหล่านั้นไม่คงฤทธิ์ต่อการเกิดโรคได้ หากแต่ยังมีความ สามารถในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้

วัคซีนมี 4 ประเภทได้แก่

1. วัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine): เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อโรคที่ทำให้เชื้อโรคนั้นๆตายแล้วเช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนคอตีบ

2. วัคซีนเชื้อเป็น (Live attenuated Vaccine): เป็นวัคซีนที่ได้จากเชื้อโรคที่ยังมีชีวิต แต่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถก่อโรคได้แล้ว หากแต่ยังมีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันร่างกายได้อยู่เช่น วัคซีนไวรัสโรต้า วัคซีนโปลิโอ

3. วัคซีนซับยูนิต (Subunit Vaccine): เป็นวัคซีนที่ได้จากบางชิ้นส่วนของเชื้อไวรัสหรือของแบคทีเรียที่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งวัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนที่มีความจำเพาะต่อโรคสูงเช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี

4. วัคซีนทอกซอยด์ (Toxoid): เป็นวัคซีนที่ผลิตได้จากสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้นเช่น วัค ซีนบาดทะยัก

เมื่อกล่าวถึงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันนั้น กลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็ก จึงมีการกำหนดแผน การให้บริการวัคซีน หรือ “ตารางการรับวัคซีน/ตารางวัคซีน/ตารางการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน (Immunization schedules)” ของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศต่างๆและของประ เทศไทย (ทั้งนี้แต่ละประเทศจะมีตารางวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุขแตกต่างกันตามลักษณะ ของโรคต่างๆของแต่ละประเทศนั้นๆ) และยังมีตารางวัคซีนที่แนะนำโดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยอีกด้วย อย่างไรก็ดี ในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ สตรี รวมถึงวัยชรา/ผู้สูงอายุนั้น ในกลุ่มคนบางกลุ่มอาจมีความจำเป็นที่ต้องได้รับวัคซีนด้วย ตารางวัคซีนจึงไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กๆ เท่านั้นที่ควรทราบ หากมีข้อสงสัยในเรื่องของการรับวัคซีนชนิดต่างๆ สามารถสอบถามได้จาก แพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาล ใกล้บ้านของท่าน หรือจากสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 ก็ได้

อนึ่ง สามารถอ่านเพิ่มเติมในรายละเอียดของแต่ละวัคซีนได้ในเว็บ haamor.com เช่น ในเรื่องตารางการให้วัคซีนที่รวมถึงตารางการฉีดกระตุ้น วิธีให้วัคซีน ผลข้างเคียงของวัคซีนนั้นๆ เป็นต้น เช่น วัคซีนหัด วัคซีนหัดเยอรมัน วัคซีนคางทูม

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่สตรีตั้งครรภ์/สตรีมีครรภ์ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการติดเชื้อทั้งแก่มารดาเองและแก่ทารกในครรภ์ การวางแผนครอบครัวและการพบสูตินรีแพทย์แต่เนิ่นๆ จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้มารดาและทารกที่จะเกิดขึ้นมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

ดังที่กล่าวไปแล้วในบทนำข้างต้นว่า วัคซีนมีหลายชนิด โดยหลักการทั่วไปแล้ว

  • วัคซีนเชื้อเป็น (Live Vaccine) ไม่ควรให้ก่อนการตั้งครรภ์ 1 เดือนและรวมถึงในขณะตั้งครรภ์ด้วย
  • ส่วนวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine) อาจให้ก่อนหรือในขณะตั้งครรภ์ได้ ซึ่งการจะใช้วัคซีนในสตรีตั้งครรภ ควรต้องปรึกษาสูตินรีแพทย์อย่างใกล้ชิด

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้คำแนะนำวัคซีนแก่สตรีตั้ง ครรภ์ได้แก่

วัคซีนที่แนะนำช่วงก่อนการตั้งครรภ์

วัคซีนสำหรับสตรีตั้งครรภ์

วัคซีนที่สตรีควรได้รับหรือสตรีควรมีภูมิคุ้มกันในช่วงก่อนการตั้งครรภ์คือ

  • วัคซีนป้องกันโรคหัด โรคหัดเยอรมัน และโรคคางทูม (MMR) โดยโรคหัดเยอรมัน (Rubella) จะส่งผลอันตรายแก่ทารกในครรภ์ โดยทารกที่เกิดมาจะมีความผิดปกติ (เช่น โรคหัวใจ) แม้ว่ามารดาอาจได้รับวัคซีนนี้แล้วแต่ครั้งในวัยเด็ก อย่างไรก็ดีมารดาควรตรวจระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อโรคเหล่านี้ด้วย (ซึ่งหากมีภูมิคุ้มกันฯแล้ว แพทย์อาจแนะนำไม่จำเป็นต้อฉีดวัคซีนเหล่านี้) หากจำเป็นต้องได้รับวัคซีนชนิดนี้ ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นเวลา 1 เดือนภายหลังการรับวัคซีนกลุ่มนี้

วัคซีนที่แนะนำช่วงระหว่างการตั้งครรภ์

โดยทั่วไประหว่างการตั้งครรภ์ มีวัคซีนที่ได้รับการแนะนำให้บริหาร/ให้มารดาได้รับมี 2 ชนิดคือ

  • วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza Vaccine) และ
  • วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ โรคไอกรน (Tdap)

นอกจากวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่ควรได้รับในทุกๆปีแล้วนั้น สตรีตั้งครรภ์ควรได้ รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และโรคไอกรน (Tdap) ในทุกๆครั้งที่มีการตั้งครรภ์ด้วย โดยให้วัคซีนในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 27 - 36 ของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคไอกรน (Pertusis หรือ Whooping Cough) แก่ทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นโรคที่มีอันตรายต่อทารกในครรภ์จนถึงแก่ชีวิตได้

วัคซีนที่แนะนำมารดาภายหลังการให้กำเนิดทารก

สำหรับมารดาที่ไม่เคยได้รับวัคซีน Tdap ควรรับวัคซีนดังกล่าวทันทีภายหลังการให้กำ เนิดบุตร และในมารดาที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด โรคคางทูม โรคหัดเยอรมัน รวมไปถึงโรคอีสุกอีใส (Chickenpox) ควรได้รับวัคซีน MMR และวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Varicella Vaccine) หลังคลอดก่อนออกจากโรงพยาบาล

วัคซีนอื่นๆที่อาจพิจารณาให้แก่สตรีตั้งครรภ์หากมีข้อบ่งใช้

วัคซีนอื่นๆที่แพทย์อาจพิจารณาให้แก่สตรีตั้งครรภ์หากมีข้อบ่งใช้ดังในตารางที่ 5

เพิ่มรูปตาราง

คำอธิบายวัคซีนในตาราง:

1. วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบชนิด A (Hepatitis A Vaccine): ขึ้นกับวิจารณญาณของแพทย์หากมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง หรือมารดามีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ

2. วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ B (Hepatitis B Vaccine): แพทย์อาจพิจารณาให้วัคซีนนี้ หากมารดามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เช่น มีคู่นอนมากกว่า 1 คนในรอบ 6 เดือน, ได้รับการวินิจฉัยหรือกำลังทำการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, สามีหรือคู่นอนเป็นพาหะของโรคนี้ เป็นต้น

3. วัคซีนเอชพีวี (HPV; Human papillomavirus): ไม่แนะนำให้ใช้วัคซีนนี้แก่สตรีขณะกำลังตั้งครรภ์ หากมารดากำลังอยู่ในระหว่างการรับวัคซีนชนิดนี้ (ซึ่งต้องได้รับทั้งหมดรวม 3 ครั้ง) จำเป็นต้องเลื่อนการให้วัคซีนชนิดนี้ออกไปจนกว่าจะคลอดบุตร

4. วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Vaccine): ให้ได้หากมีข้อบ่งใช้ตามวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษาผู้ป่วย

5. วัคซีนป้องกันโรคนิวโมคอกคัส (Pneumococcal Vaccine): ให้ได้หากมีข้อบ่งใช้ตามวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา อย่างไรก็ดียังไม่มีการศึกษาด้านความปลอดภัยของวัคซีนนี้ในสตรีตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

บรรณานุกรม

  1. Guidelines for Vaccinating Pregnant Women. US CDC. http://www.cdc.gov/vaccines/pregnancy/hcp/guidelines.html [2016,Nov19]
  2. Immunization Schedules for Infants and Children. US CDC. https://www.cdc.gov/vaccines/schedules/easy-to-read/child.html [2016,Nov19]
  3. Immunization Schedules for Preteens and Teens. US CDC https://www.cdc.gov/vaccines/schedules/easy-to-read/preteen-teen.html [2016,Nov19]
  4. Meningococcal Vaccines for Preteens and Teens. US CDC https://www.cdc.gov/vaccines/parents/diseases/teen/mening.html [2016,Nov19]
  5. Recommended Adult Immunization Schedule United States 2016. US CDChttps://www.cdc.gov/vaccines/schedules/downloads/adult/adult-combined-schedule.pdf [2016,Nov19]
  6. สันต์ ใจยอดศิลป์. วัคซีนในผู้ใหญ่ (Adult Vaccination). 2013.http://visitdrsant.blogspot.sg/2013/05/adult-vaccination.html [2016,Nov19]
  7. Immunological products and vaccines. บัญชียาหลักแห่งชาติ. http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/essential/list/14 [2016,Nov19]
  8. ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ. สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. http://www.pidst.net/A478.html [2016,Nov19]
  9. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal vaccine). บลอคคลินิกนักท่องเที่ยว โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน http://www.thaitravelclinic.com/blog/th/travel-medicine-issue/thai-meningococcal-vaccine.html [2016,Nov19]
  10. วิทยา ภิฐาพันธุ์. วัตซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ในรายการโทรทัศน์พบหมอศิริราช สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. http://www.si.mahidol.ac.th/th/tvdetail.asp?tv_id=428 [2016,Nov19]
  11. สธ. และ สปสช. รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้กับประชาชน จำนวน 3.1 ล้านโด๊ส เริ่มดำเนินการ 1 พ.ค. 59 ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่ง. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=82415 [2016,Nov19]
  12. หน่วยของ Anti-D ทำไมแตกต่างกัน. ศิริราชเภสัชสาร. ปีที่ 14 ฉบับที่ 4 เดือนมกราคม 2558