“ลีสทีเรีย” เชื้อจากอาหาร (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

ลีสทีเรีย-เชื้อจากอาหาร

สำหรับคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่

  • ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี
  • ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์
  • ผู้ที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy)
  • ผู้ที่กินยาต้านภูมิแพ้ที่ชื่อ Prednisone หรือยารักษาโรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis drugs)
  • ผู้ที่กินยากดภูมิเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • เป็นโรคตับ (Liver disease)
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism)

ทั้งนี้ อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการติดเชื้อลีสทีเรียซึ่งสามารถทำให้เสียชีวิต ได้แก่

  • ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต (Septicemia)
  • ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
  • ภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis)
  • ภาวะปอดอักเสบ (Pneumonia)

ในส่วนของการวินิจฉัยโรคทำได้ด้วยการตรวจเลือด หรือบางกรณีอาจมีการตรวจปัสสาวะหรือน้ำไขสันหลังดูด้วย

การรักษาอาการติดเชื้อนั้นมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ คนส่วนใหญ่จะมีอาการน้อยไม้ต้องรักษา แต่กรณีที่รุนแรงต้องใช้ยาปฏิชีวนะช่วย ซึ่งยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้รักษากันทั่วไปได้แก่ยา Ampicillin ส่วนยา Gentamicin ใช้เป็นยาที่มีฤทธิ์เสริม (Synergistic effects)

สำหรับการป้องกันการติดเชื้ออาจทำได้ด้วยการ

  • รักษาความสะอาด ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ก่อนและหลังการทำอาหาร ใช้น้ำร้อนล้างภาชนะ เขียง อุปกรณ์ทำครัว หลังการทำอาหาร
  • ขัดผิวผลไม้สดด้วยแปรงและล้างโดยให้น้ำผ่าน
  • ทำอาหารให้สุก
  • แยกเก็บอาหารดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ฯลฯ ออกจาก ผัก ผลไม้ อาหารสุก และอาหารที่พร้อมทาน (Ready-to-eat foods)
  • สำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ควรกินเนยแข็งแบบนิ่ม (Soft cheeses) ฮอทด็อก เนื้อบดละเอียด (Luncheon meats) อาหารทะเลรมควันแช่แข็ง (Refrigerated smoked seafood)

แหล่งข้อมูล

  1. Listeria infection. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/listeria-infection/basics/symptoms/con-20031039 [2015, February 18].
  2. Listeriosis. http://en.wikipedia.org/wiki/Listeriosis [2015, February 18].
  3. Listeria. http://www.foodsafety.gov/poisoning/causes/bacteriaviruses/listeria/ [2015, February 18].