ลาสซาฟีเวอร์ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

ลาสซาฟีเวอร์

• ระบบประสาท (Nervous system)

  • สมองอักเสบ (Encephalitis)
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
  • สูญเสียการได้ยิน (Hearing deficit) ข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ซึ่งอาการแทรกซ้อนนี้เกิดได้ร้อยละ 20-30 โดยอาจจะเกิดในระยะสุดท้ายของโรคและระยะฟื้นตัว
  • ชัก (Seizures)

เป็นการยากที่จะแยกแยะเชื้อไวรัสไข้เลือดออกลาสซาออกจากเชื้อไวรัสไข้เลือดออกอื่นๆ เช่น อีโบล่า (Ebola) และ มาร์บวร์ก (Marburg) และจากไข้อื่นๆ เช่น ไข้มาลาเรีย โรคบิดไม่มีตัวหรือโรคบิดชิเกลลา (Shigellosis) ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย (Typhoid fever) และโรคไข้เหลือง (Yellow fever)

ทั้งนี้เชื้อไวรัสนี้จะสามารถคงอยู่ในปัสสาวะที่ถ่ายออกเป็นเวลา 3-9 สัปดาห์ และอยู่ในน้ำอสุจิ (Semen) ได้นานถึง 3 เดือน

สำหรับการวิเคราะห์เชื้อนั้นสามารถทำได้ ดังนี้

  • การตรวจเลือดโดยใช้วิธี (Enzyme-linked immunosorbent assay = ELISA test) วิธีนี้ใช้ตรวจหาภูมิต้านทานโรคต่อเชื้อ (Antibody) เป็นวิธีที่ให้ผลเร็วมีความไว (Sensitivity) ร้อยละ 88 และมีความแม่นยำในการตรวจ (Specificity) ร้อยละ 90
  • การตรวจปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (Reverse transcription-polymerase chain reaction = RT-PCR)
  • การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ต่ำ (Lymphopenia)
  • การตรวจภาวะเกล็ดเลือดน้อย (Thrombocytopenia)
  • การตรวจการทำงานของตับ (Aspartate aminotransferase)
  • การเพาะเชื้อ (Cell culture)

ส่วนการป้องกันสามารถทำได้โดย

  • รักษาความสะอาด มีสุขอนามัยที่ดี
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์หนู
  • สวมถุงมือ หน้ากาก เสื้อโค้ด และแว่นตา หากต้องสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ การรักษาเบื้องต้นมักให้ยาต้านไวรัส (Ribavirin) นอกจากนั้นอาจมีการให้น้ำเกลือ (Fluid replacement) ถ่ายเลือด (Blood transfusion) และไม่ให้ความดันต่ำ

แหล่งข้อมูล

1. Lassa fever http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs179/en/ [2016, February 28].

2. Lassa Fever. https://en.wikipedia.org/wiki/Lassa_fever[2016, February 28].