ลมชัก: ลมชักเฉพาะส่วนของร่างกาย

ลมชักเฉพาะส่วนของร่างกาย

อาการชักมีหลายรูปแบบ การชักเฉพาะส่วนของร่างกายเป็นรูปแบบหนึ่งของการชัก ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นเคย ส่งผลให้ผู้มีอาการชักแบบเฉพาะส่วนของร่างกายมาพบแพทย์ล่าช้า เราจึงควรรู้จักการชักแบบเฉพาะส่วนของร่างกาย

ลมชักเฉพาะส่วนของร่างกาย คือ

การชักเฉพาะส่วนของร่างกาย มี 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

1. การชักกระตุก เกร็งเฉพาะส่วนของร่างกาย เช่น แขน ขา ใบหน้า รู้สติดี

2. การชักกระตุก เกร็งเฉพาะส่วนในแบบที่ 1 แล้วมีการกระจาย ลุกลามไปทั่วทั้งตัวจนหมดสติ และ

3. การชักแบบพฤติกรรมผิดปกติ เดิน เหม่อ ถูมือไปมา เรียกไม่รู้ตัว แต่ไม่หมดสติ

สาเหตุเกิดจาก

  • การชักแบบเฉพาะส่วนนี้มักมีสาเหตุจากความผิดปกติของสมองเฉพาะบางตำแหน่ง เช่น รอยโรคในสมอง จากอุบัติเหตุ เนื้องอกสมอง ภาวะติดเชื้อในสมอง ความผิดปกติของสมองแต่กำเนิด หรือภาวะความผิดปกติของเกลือแร่ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก เป็นต้น

การรักษา

  • ผู้มีอาการชักแบบนี้จำเป็นต้องส่งตรวจเลือด เอกซเรย์สมอง เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติเสมอ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วจะพบความผิดปกติของสมอง และจำเป็นต้องให้การรักษาสาเหตุด้วยเสมอ
  • ส่วนใหญ่แล้วจะให้การรักษษด้วยยากันชัก แต่ถ้ามีความผิดปกติตรวจพบรอยโรคในสมองที่มีความจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยการผ่าตัด ก็ต้องผ่าตัดถ้ามีข้อบ่งชี้ในการรักษา

การปฐมพยาบาล

  • การปฐมพยาบาลการชักแบบเฉพาะส่วนของร่างกายนั้นขึ้นกับรูปแบบการชัก ถ้าผู้มีอาการชักรู้สึกตัวดี ก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไร อาการชักจะหยุดได้เอง แต่กรณีการชักแบบพฤติกรรมผิดปกติ ให้เดินประคองไปเรื่อยๆ กันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ อย่าให้เดินไปในที่ที่อาจเกิดอันตรายได้ เช่น ถนนใหญ่ บันได ใกล้แหล่งน้ำ
  • การชักแบบเฉพาะส่วนและลุกลามไปทั่วทั้งตัว หมดสตินั้น ควรให้การช่วยเหลือด้วยการจับนอนลง ตะแคงศีรษะ ป้องกันการสำลักน้ำลาย อาหาร ห้ามงัดปาก ห้ามกดยึดแขน ไหล่ ขา ห้ามปั๊มหน้าอก ทำเช่นเดียวกับการชักแบบลมบ้าหมู

การชักเฉพาะส่วนของร่างกาย ตอบสนองดีต่อการรักษา และมีความปลอดภัย