ลดได้ ตัดได้ ผอมได้ (ตอนที่ 3)

ลดได้ตัดได้ผอมได้

โรคอ้วนสามารถทำให้อายุไขลดลงเฉลี่ยที่ 3-10 ปี และมีผลต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน เช่น

  • หายใจลำบาก (Breathlessness)
  • เหงื่อออกมาก (Increased sweating)
  • กรน (Snoring)
  • ทำกิจกรรมทางกายลำบาก
  • รู้สึกเหนื่อยบ่อย
  • ปวดข้อและหลัง
  • ขาดความมั่นใจ (Low confidence) และขาดความพึงพอใจในตนเอง (Low self-esteem)
  • รู้สึกโดดเดี่ยว (Feeling isolated) และนำไปสู่ภาวะหดหู่ซึมเศร้า (Depression)

นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดปัญหาโรคต่างๆ เช่น

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes)
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (Coronary heart disease)
  • โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease = GERD)
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones)
  • โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnoea)

การวัดว่าเป็นโรคอ้วนหรือไม่ นิยมเทียบจากค่าดัชนีมวลกาย (The body mass index = BMI) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความสูง เพศ และอายุ ตามสูตรคำนวณคือ

BMI = น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) / ความสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง

โดยมีการแปรค่าดัชนีมวลกายในผู้ใหญ่ทั่วไปดังนี้

  • 18.5 - 24.9 หมายความว่า มีสุขภาพดี
  • 25 - 29.9 หมายความว่า น้ำหนักเกิน (Overweight)
  • 30 - 39.9 หมายความว่า อ้วน (Obese)
  • 40 ขึ้นไป หมายความว่า อ้วนมาก (Severely obese)

อย่างไรก็ดีการวัดค่าดัชนีมวลกายเพียงอย่างเดียวอาจใช้ไม่ได้กับผู้ที่มีกล้ามเนื้อมากแต่ไม่มีไขมันเกิน ดังนั้นจึงต้องใช้การวัดวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น การวัดรอบเอว ซึ่งโดยทั่วไปผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่า 37 นิ้ว หรือผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่า 31.5 นิ้ว จะถือว่าเป็นโรคอ้วน

แหล่งข้อมูล

1. Obesity. http://www.nhs.uk/conditions/Obesity/Pages/Introduction.aspx [2017, April 1].