ลดได้ ตัดได้ ผอมได้ (ตอนที่ 10 และตอนจบ)

ลดได้ตัดได้ผอมได้

ผลข้างเคียงของการผ่าตัดลดความอ้วน (ต่อ)

  • เกล็ดเลือดจับตัวเป็นลิ่ม (Blood clots) ที่ขา ปอด และหัวใจ
  • ร่างกายอาจไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ดี โดยเฉพาะกรณีที่ไม่กินวิตามินหรือเกลือแร่ตามที่แพทย์สั่ง
  • นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) อาจเกิดขึ้นหลังจากที่น้ำหนักหายไปอย่างรวดเร็ว (ประมาณ 10 เดือนหลังการผ่าตัด)
  • มีการตีบตัน (Strictures) ของบริเวณที่ผ่าตัด หรือตรงที่เชื่อมระหวางกระเพาะและลำไส้ ทำให้กินอาหารแข็งลำบาก สามารถเป็นเหตุให้คลื่นไส้ อาเจียน และกลืนลำบาก
  • ไส้เลื่อน (Hernias) ในบริเวณที่ผ่าตัดหรือในกระเพาะอาหาร

ทั้งนี้ ผู้ที่จะทำการผ่าตัดลดความอ้วนควรเป็นผู้ใหญ่ที่มี

  • ค่า BMI อยู่ที่ 40 หรือมากกว่า หรือ
  • ค่า BMI อยู่ที่ 35 หรือมากกว่า และมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่เกี่ยวเนื่องกับโรคอ้วน เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ หรือ โรคหยุดหายใจขณะหลับ
  • ค่า BMI อยู่ที่ 30 หรือมากกว่า และมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่เกี่ยวเนื่องกับโรคอ้วน แต่ให้ใช้วิธีผ่าตัดด้วยการรัดกระเพาะเท่านั้น

ส่วนกรณีของวัยรุ่นที่มีปัญหาโรคอ้วนซึ่งอาจจะทำให้ปัญหาแย่ลงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกที่ทำได้ หากมีความสูงที่หยุดโตแล้ว และมี

  • ค่า BMI อยู่ที่ 35 หรือมากกว่า และมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่เกี่ยวเนื่องกับโรคอ้วน เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ หรือ โรคหยุดหายใจขณะหลับ
  • ค่า BMI อยู่ที่ 40 หรือมากกว่า และมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่น้อยกว่า เช่น โรคความดันโลหิตสูง หรือ คลอเรสเตอรอลสูง

ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการผ่าตัดลดความอ้วนในวัยรุ่นสามารถช่วยแก้ปัญหาสุขภาพได้อย่างน้อย 3 ปี หลังการผ่าตัด เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และสามารถลดน้ำหนักได้ประมาณ 40.90 กิโลกรัม ทั้งยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี นักวิจัยจะได้ทำการศึกษาต่อในผลกระทบที่เกิดในระยะยาวต่อไป

เพราะการผ่าตัดลดความอ้วนเป็นการตัดสินใจที่สำคัญและมีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดที่สูง เพื่อช่วยในการตัดสินใจควรตอบคำถามดังต่อไปนี้ก่อน

  • คุณไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นแล้ว เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต การใช้ยา
  • คุณเข้าใจถึงการผ่าตัด ข้อดีและข้อด้อย แล้วหรือยัง
  • คุณเข้าใจถึงการกินและกิจกรรมทางร่างกายที่ต้องเปลี่ยนไปหลังการผ่าตัดหรือยัง
  • คุณสามารถปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดได้ตามคำนำของแพทย์หรือไม่

แหล่งข้อมูล

1. Bariatric Surgery. https://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/weight-control/bariatric-surgery/Pages/definition-facts.aspx [2017, April 9].