เอาไงดี ! ลดกรด เพิ่มเสี่ยง (ตอนที่ 3)

ลดกรดเพิ่มเสี่ยง

ยา PPI เป็นยาใช้กิน โดยกินก่อนอาหาร 30 นาที หากผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องโรคกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) แพทย์อาจจ่ายยา PPI คู่กับยาอื่นอีก 2-3 ชนิด นาน 2-8 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้

  • กินยาตามแพทย์สั่ง
  • พยายามกินยาให้ตรงเวลาเดียวกันในแต่ละวัน
  • อย่าหยุดยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

การใช้ยา PPI จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื้อรังมากกว่า หากมีปัญหาเรื่องกรดในกระเพาะเป็นบางครั้งแล้วการใช้ยาลดกรดธรรมดา (Antacid) หรือยากลุ่มยั้บยั้งตัวรับฮิสทามีนชนิดที่ 2 (H2-receptor antagonist = H2RA) ก็น่าจะเหมาะกว่า ทั้งนี้เพราะ PPI เป็นยาที่แรงกว่า

อย่างไรก็ดี คนส่วนใหญ่มักเลือกใช้ PPI เพราะคิดว่า PPI ดีกว่า โดยเฉพาะกรณีของภาวะกรดไหลย้อนที่อาจไม่ต้องกินยาอะไร นอกจากการเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น แบ่งอาหารกินเป็นมื้อเล็กๆ และกินอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง หรือลดการดื่มแอลกฮอล์ เป็นต้น

ผลข้างเคียง (Side effects) ของยาลดกรดตระกูล PPI ที่เป็นกันมาก ได้แก่ อาการ

  • ปวดศีรษะ
  • ท้องเสีย
  • ท้องผูก
  • ปวดท้อง
  • ท้องอืดท้องเฟ้อ (Flatulence)
  • เป็นไข้
  • อาเจียน
  • คลื่นไส้
  • เป็นผื่น

และ PPI อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ Clostridium difficile ในลำไส้ ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย นอกจากนี้การใช้ยาในปริมาณที่สูงและนาน อาจจะ

  • เพิ่มความเสี่ยงของภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ที่ทำให้กระดูกสะโพก ข้อมือ หรือกระดูกสันหลัง แตก
  • ลดการดูดซึมของวิตามินบี 12 (Cyanocobalamin)
  • ทำให้เกิดภาวะพร่องแมกเนเซียมในเลือด (Hypomagnesemia)
  • เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือกเฉียบพลัน (Heart attacks)
  • มีปฏิกริยาแพ้อย่างรุนแรง (Serious allergic reactions)
  • เป็นโรคผิวหนังในกลุ่มผื่นแพ้ยา (Toxic epidermal necrolysis)
  • ลดการทำงานของไต (Reduced kidney function)
  • ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
  • ลดการทำงานของตับ (Reduced liver function)

บรรณานุกรม

1. Proton Pump Inhibitors (PPIs). http://www.medicinenet.com/proton-pump_inhibitors/article.htm [2017, March 2].

2. Proton pump inhibitors. https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000381.htm [2017, March 2].

3. Proton-pump inhibitors. http://www.nhs.uk/Conditions/legcrampsunknowncause/Pages/Introduction.aspx [2017, March 2].