ร่วมมือกับภูฏาน ด้านห้องปฏิบัติการ (ตอนที่ 4 และตอนสุดท้าย)

กระทรวงสาธารณสุขไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ช่วยพัฒนาศักยภาพบุคลากร และพัฒนามาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ให้กระทรวงสาธารณสุขภูฏาณ เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรด้านการตรวจชันสูตร ซึ่งห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทย มีมาตรฐานสากล จนเป็นที่อ้างอิงขององค์การอนามัยโลก ที่ผ่านมาไทยได้จัดอบรมบุคลากรให้ภูฏาน และส่งผู้เชี่ยวชาญจากไปให้คำปรึกษาที่ภูฏานด้วย

บุคลากรในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ แยกเป็น นักเทคนิคการแพทย์ (Medical technologist) และผู้ช่วยเทคนิคการแพทย์ (Laboratory technician) โดยในภาพรวาม จะรวบรวมสิ่งส่งตรวจ แล้วทำการทดสอบ เพื่อวิเคราะห์ ของเหลวจากร่างกาย (Body fluids) เนื้อเยื่อ (Tissue) และสารอื่นๆ (Substances) หน้าที่ความรับผิดชอบของนักเทคนิคการแพทย์ได้แก่

  • วิเคราะห์ของเหลวจจากร่างกาย อาทิ เลือด ปัสสาวะ และเนื้อเยื่อ เพื่อค้นหาสิ่งผิดปรกติ
  • รวบรวมและศึกษาสิ่งส่งตรวจ (Specimen) สำหรับใช้ในการถ่ายเลือด (Transfusion) โดยการแยกแยะจำนวนเซลล์ รูปแบบและโครงสร้าง (Morphology) ของเซลล์ หรือกลุ่มเลือด ประเภท (Type) ของเลือด และการเข้ากันได้กับประเภทอื่นๆ ของเลือด
  • ใช้อุปกรณ์ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย (Sophisticated) อาทิ กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) และเครื่องนับจำนวนเซลล์ (Cell counter)
  • ใช้อุปกรณ์อัตโนมัติ และเครื่องมือคอมพิวเตอร์ที่สามารถทดสอบเป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกัน
  • รวบรวมข้อมูลจากการทดสอบทางการแพทย์ และบันทึกผลทดสอบเพื่อลงในเวชระเบียนผู้ป่วย (Patient medical record)
  • ปรึกษาแพทย์ในเรื่องผลทดสอบจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และหัตถการ (Procedure)
  • กำกับหรือฝึกอบรมผู้ช่วยนักเทคนิคการแพทย์

ทั้งนักเทคนิคการแพทย์และผู้ช่วยนัเกเทคนิคการแพทย์ ต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน อาทิ ผ้าปิดปากและจมูก (Mask) ถุงมือ (Gloves) และหน้ากาก (Goggles) แต่ก็มีหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน นักเทคนิคการแพทย์รับผิดชอบการทดสอบและหัตถการ (Procedure) ที่ซับซ้อนกว่า และมักเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ช่วยเทคนิคการแพทย์ด้วย

โดยทั่วไป ผู้ช่วยนักเทคนิคการแพทย์จะตระเตรียมสิ่งส่งตรวจ (Specimen) ส่วนนักเทคนิคการแพทย์ใช้เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ (Automated analyzer) หรือทดสอบด้วยมือ (Manual test) ตามรายละเอียดในคู่มือ นักเทคนิคการแพทย์ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ขนาดเล็ก อาจต้องปฏิบัติหน้าที่หลายอย่าง แต่ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ขนาดใหญ่ นักเทคนิคการพทย์ มักเป็นผู้เชี่ยวชาญการทดสอบเฉพาะ อาทิ คลังเลือด (Blood bank) เคมีวิทยาทางการแพทย์ (Clinical chemistry) ภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology) โลหิตวิทยา (Hematology) และจุลชีววิทยาทางการแพทย์ (Clinical microbiology) [ส่วนการทดสอบที่เป็นงานประจำ (Routine)เป็นหน้าที่ของผู้ช่วยเทคนิคการแพทย์]

แหล่งข้อมูล:

  1. สาธารณสุขไทยและภูฏาน ร่วมมือพัฒนาห้องแล็บ-ยา-วัคซีน http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000110918&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2012, September 15].
  2. What Medical and Clinical Laboratory Technologists and Technicians Do. http://www.bls.gov/ooh/healthcare/medical-and-clinical-laboratory-technologists-and-technicians.htm#tab-2 [2012, September 15].