ร่วมมือกับภูฏาน ด้านห้องปฏิบัติการ (ตอนที่ 2)

นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงการแต่งตั้งคณะอำนวยการความร่วมมือ (Steering Committee) เพื่อกำหนดแนวทางความร่วมมือทางห้องปฏิบัติการ [ทางการแพทย์] ในด้านต่างๆ เร่งรัดให้เกิดความสำเร็จอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ

กรรมวิธีทดสอบสิ่งส่งตรวจ (Specimen processing) ที่มีประสิทธิภาพมักเริ่มต้นด้วยการนำเอาสิ่งส่งตรวจและใบขอให้ทดสอบ มายังห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อลงทะเบียนพร้อมหมายเลขกำกับ หลอดสุญญากาศ (Vacutainer tube) ที่บรรจุเลือดหรือสิ่งส่งตรวจอื่นๆ จะในมารูปแบบของถุงพลาสติกเล็กๆ พร้อมกับแบบฟอร์ม [แสดงรายละเอียดของสิ่งที่บรรจุมาด้วย]

สิ่งส่งตรวจเดียวกันจะได้รับหมายเลขเดียวกัน ซึ่งมักจะเป็นสติ๊กเกอร์ซึ่งจะติดบนหลอดและแบบฟอร์ม และฉลากนี้ จะมีรหัสแท่ง (Barcode) ที่จะได้รับการอ่านตรวจทาน/สแกน (Scan) โดยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ (Automated analyzer) และทุกๆ ใบขอให้ทดสอบ จะได้รับการบันทึกเข้าไปในระบบสารสนเทศห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Laboratory information system : LIS) ของโรงพยาบาล

ในระบบดังกล่าว มีการอ่านตรวจทานจากรหัสแท่งหรือพิมพ์ หมายเลขห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ข้อมูล (เช่นหมายเลข) ของผู้ป่วย ตลอดจนการทดสอบที่ได้ขอมา เครื่องตรวจในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ที่เชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์ จะแสดงให้เจ้าหน้าที่ทราบว่า การทดสอบแบบใดที่ยังคงค้าง และกำหนดสถานที่ (อาทิแผนกในโรงพยาบาล แพทย์ หรือลูกค้า) เพื่อการส่งมอบผลทดสอบ (Results)

สิ่งส่งตรวจจำนวนมาก ต้องอาศัยเครื่องตรวจอัตโนมัติ ในการวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจ และส่งผลทดสอบ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์บางแห่งใช้หุ่นยนต์ (Robotic) ในการวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจ และใช้ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อัตโนมัติ (Laboratory automation) เพื่อจัดกระบวนการทำงาน (Workflow) ให้มีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงของการปนเปื้อน (Contamination) ที่อาจเป็นอันตรายแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน

สำหรับกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ มักเริ่มต้นตั้งแต่เช้าตรู่ เวลา 2.00 น. ถึง10.00 น. พยาบาลและแพทย์มักให้ผู้ป่วยในได้รับการทดสอบอย่างน้อยวันละครั้ง ด้วยการตรวจเลือดซีบีซี (Complete blood count : CBC) และรายการ (Profile) ตรวจทางเคมีทางการแพทย์ (Clinical chemistry)

ตามปรกติ ผู้เจาะเลือด (Phlebotomist) รับผิดชอบใบขอให้ทดสอบในช่วงเช้า เพื่อให้ได้ผลทดสอบลงในรายงานผู้ป่วย (Patient chart) แก่แพทย์เจ้าของไข้ เพื่อการตรวจวินิจฉัยระหว่างการตรวจผู้ป่วยในช่วงเช้า (Round) [ส่วนในเวลาอื่น พยาบาลอาจเป็นผู้เจาะเลือดแทน]

อีกเวลาหนึ่งที่มีงานมากสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คือหลังเวลา 15.00 น. เมื่อคลินิกต่างๆ ปิดลง แล้วผู้ทำหน้าที่ขนส่ง (Courier) จะรับสิ่งส่งตรวจ (Specimen) เพื่อนำส่งไปยังห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ กระบวนการนี้ใช้กับผู้ป่วยนอกด้วย สิ่งส่งตรวจนี้จะถูกนำไปเข้ากรรมวิธี (Processing) ในตอนเย็นและกลางคืน เพื่อให้ได้ผลทดสอบในวันรุ่งขึ้น

แหล่งข้อมูล:

  1. สาธารณสุขไทยและภูฏาน ร่วมมือพัฒนาห้องแล็บ-ยา-วัคซีน http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000110918&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2012, September 13].
  2. Medical laboratory. http://en.wikipedia.org/wiki/Medical_laboratory [2012, September 13].