ร็อกซิโทรมัยซิน (Roxithromycin)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยาร็อกซิโทรมัยซิน (Roxithromycin) เป็นยาปฏิชีวนะกึ่งสังเคราะห์กลุ่ม Macrolide ทางวงการแพทย์ นำมาใช้รักษาการอักเสบที่ติดเชื้อแบคทีเรียในช่องทางเดินหายใจ ระบบทาง เดินปัสสาวะ และการติดเชื้อตามเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย

ยาร็อกซิโทรมัยซินจัดเป็นอนุพันธุ์ของ ยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) เพราะมีโครง สร้างทางเคมีใกล้เคียงกัน หลังจากร่างกายได้รับยานี้ อวัยวะตับจะเป็นตัวเปลี่ยนโครงสร้างโดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นจะใช้เวลาอีก 11 – 12 ชั่วโมง เพื่อกำจัดระดับยาออกจากร่างกาย 50% (Half Life) โดยผ่านไปทางน้ำดี บางส่วนขับออกทางปัสสาวะและทางลมหายใจ

ในบ้านเรา สามารถพบเห็นร็อกซิโทรมัยซินในชื่อการค้ามากมาย มีขายตามร้ายขายยาทั่ว ไป และมีใช้ในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน

ด้วยร็อกซิโทรมัยซินเป็นยาอันตราย การใช้ยาควรต้องอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์ผู้ทำการรัก ษา


ยาร็อกซิโทรมัยซินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ร็อกซิโทรมัยซิน

สรรพคุณของยาร็อกซิโทรมัยซิน คือ

  • รักษาอาการติดเชื้อที่ หู คอ จมูก
  • รักษาการติดเชื้อที่ระบบสืบพันธุ์ (ไม่รวมโกโนเรีย/หนองใน)
  • รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนัง
  • ป้องกันการติดเชื้อไข้สมองอักเสบ

ยาร็อกซิโทรมัยซินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของร็อกซิโทรมัยซิน คือตัวยาจะเข้าไปจับกับ 50s Ribosome (สารพันธุกรรมชนิดหนึ่ง) ในแบคทีเรีย และรบกวนการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ด้วยกลไกนี้จึงยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในที่สุด


ยาร็อกซิโทรมัยซินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ต่างประเทศสามารถพบเห็นร็อกซิโทรมัยซินในรูปแบบยาเม็ดและยาน้ำแขวนตะกอน สำหรับประเทศไทยยาร็อกซิโทรมัยซิน จะมีการจัดจำหน่ายในรูปแบบ

  • ยาเม็ดขนาด 100, 150 และ 300 มิลลิกรัม

ยาร็อกซิโทรมัยซินมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ยาร็อกซิโทรมัยซินมีขนาดรับประทาน ดังนี้

  • ผู้ใหญ่: รับประทานครั้งละ 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น หรือรับประทาน 300 มิลลิกรัมวันละครั้ง
  • เด็ก: ที่มีน้ำหนัก 24 – 40 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น ส่วนในน้ำหนักอื่นๆ แพทย์จะเป็นผู้แนะนำขนาดยาที่เหมาะสม

ทั้งนี้ควรรับประทานยาร็อกซิโทรมัยซินก่อนอาหาร 15 - 30 นาทีเป็นอย่างต่ำ ระยะเวลาในการรับประทานอยู่ในช่วง 5-10 วันต่อเนื่อง ทั้งนี้ขึ้นกับอาการทางคลินิก ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาร็อกซิโทรมัยซิน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทาเฉพาะที่ชนิดใดหรือไม่
  • มีโรคผิวหนังชนิดเรื้อรังอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่ และ
  • ระยะเวลาของอาการโรคเป็นมานานกี่วัน

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาร็อกซิโทรมัยซิน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า

ยาร็อกซิโทรมัยซินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาร็อกซิโทรมัยซินมีผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) โดยอาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น รู้สึกไม่สบายในช่องทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง สำหรับผลข้าง เคียงที่อาจพบได้น้อย เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียนเหมือนบ้านหมุน ผื่นคัน ตับทำงานผิดปกติ (ตับอักเสบ) การดมกลิ่นและการรับรสเปลี่ยนไป

มีข้อควรระวังการใช้ยาร็อกซิโทรมัยซินอย่างไร?

ข้อควระวังในการใช้ยาร็อกซิโทรมัยซิน คือ

  • ห้ามใช้ยากับผู้ที่แพ้ยาร็อกซิโทรมัยซิน
  • ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยารักษาปวดศีรษะไมเกรน Ergotamine และ Dihydroergotamine
  • ระวังการใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคตับ
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมยาร็อกซิโทรมัยซินด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน


ยาร็อกซิโทรมัยซินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ร็อกซิโทรมัยซินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น คือ

  • การใช้ยาร็อกซิโทรมัยซินร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด อาจส่งผลให้เกิดอาการเลือดออกได้ง่าย หรือทำให้ระยะเวลาของเลือดหยุดไหลเมื่อมีบาดแผลยาวนานขึ้น ยาต้านการแข็งตัวของเลือดดังกล่าว เช่น Warfarin
  • การใช้ยาร็อกซิโทรมัยซินร่วมกับยาขยายหลอดลม สามารถส่งผลให้ระดับยาขยายหลอดลมในกระแสเลือดมีระดับสูงขึ้น ผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงของยาขยายหลอดลมติด ตามมา หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน สมควรต้องปรับเปลี่ยนขนาดและระยะเวลารับประ ทานให้เหมาะสม ยาขยายหลอดลมดังกล่าว เช่น Theophylline
  • การใช้ยาร็อกซิโทรมัยซินร่วมกับยากลุ่ม Ergot Alkaloids (เช่น ยารักษาไมเกรน) ถือ เป็นข้อที่ต้องระมัดระวังอย่างสูง ด้วยเคยมีรายงานผลที่มีการใช้ยา 2 กลุ่มนี้ร่วมกัน มีความเป็น ไปได้ที่อาจก่อให้เกิดการตายของเนื้อเยื้อ และมีการเสื่อมสภาพของเซลล์ติดตามมา ยากลุ่ม Ergot Alkaloids ดังกล่าว เช่น Ergotamine Dihydroergotamine
  • การใช้ยาร็อกซิโทรมัยซินร่วมกับยาต้านสารฮีสตามีน (Histamine) บางตัว อาจทำให้ระดับยาต้านฮีสตามีนในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อระบบหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ และเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะตามมา ยาต้านฮีสตามีนดังกล่าว เช่น Terfenadine

ควรเก็บรักษายาร็อกซิโทรมัยซินอย่างไร?

ควรเก็บยาร็อกซิโทรมัยซินภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Celsius) บรรจุในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดดและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง

ยาร็อกซิโทรมัยซินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาร็อกซิโทรมัยซินในประเทศไทย มีชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Ammirox (แอมมิร็อก) MacroPhar
Coroxin (โคโรซิน) Community Pharm PCL
Eroxade (อีโรเสด) Osoth Interlab
I-Throcin (ไอ-โทรซิน) T.C. Pharma-Chem
Manroxin-150 (แมนร็อกซิน-150) T. Man Pharma
Poliroxin (โพลิร็อกซิน) Polipharm
Rocitro (โรซิโทร) Thai Nakorn Patana
Romed (โรเมด) Medicpharma
Rothricin/Rothricin Pediatric(โรทริซิน/โรทริซิน พิดิเอทริก) Siam Bheasach
Roxamycin(ร็อกซามายซิน) Inpac Pharma
Roxcin(ร็อกซิน) Biolab
Roxicin (ร็อกซิซิน) Atlantic Lab
Roxifect(ร็อกซิเฟ็ก) Bangkok Lab & Cosmetic
Roxilan (ร็อกซิแลน) Olan-Kemed
Roximed (ร็อกซิเมด) Burapha
Roximin (ร็อกซิมิน) Pharmaland
Roxino(ร็อกซิโน) Suphong Bhaesaj
Roxinox(ร็อกซิน็อก) Charoen Bhaesaj Lab
Roxinpac(ร็อกซินแพค) Inpac Pharma
Roxithro(ร็อกซิโทร) Millimed
Roxithromycin Central (ร็อกซิโทรมัยซิน เซ็นทรัล) Pharmasant Lab
Roxithroxyl (ร็อกซิโทรซิล) Bangkok Lab & Cosmetic
Roxitin (ร็อกซิติน) T P Drug
Roxitop (ร็อกซิทอป) Farmaline
Roxitron (ร็อกซิตรอน) R.X.
Roxlecon (ร็อกเลคอน) Pond’s Chemical
Roxthomed (ร็อกโทเมด) Medicine Products
Roxthrin (ร็อกทริน) T.O. Chemicals
Roxto (ร็อกโท) M & H Manufacturing
Roxtrocin (ร็อกโทรซิน) Greater Pharma
Roxy (ร็อกซี) Sriprasit Pharma
Rucin (รูซิน) General Drugs House
Rulid (รูลิด) sanofi-aventis
Rulosone (รูโลโซน) P P Lab
Ruxitex (รูซิเท็ก) The United Drug (1996)
Saroxxo (ซาร็อกโซ) Pharmahof
Uonin (โอนิน) Unison
Utolid (ยูโทลิด) Utopian
Vesthromycin (เวสโทรมายซิน) Vesco Pharma
V-Rox 300 (วี-ร็อก 300) V S Pharma

บรรณานุกรม

1. http://en.wikipedia.org/wiki/Roxithromycin [2014,April 28]
2. http://www.mydr.com.au/medicines/cmis/chemmart-roxithromycin-tablets [2014,April28].
3. http://www.medsafe.govt.nz/profs/datasheet/a/ArrowRoxithromycintab.pdf [2014,April28].
4. https://www.mims.com/Thailand/drug/info/Rulid/?q=roxithromycin&type=brief [2014,April28].
5. https://www.mims.com/THAILAND/Home/GatewaySubscription/?generic=roxithromycin [2014,April28].
6. https://www.mims.com/Thailand/drug/info/rothricin-rothricin%20pediatric/?q=roxithromycin&type=brief [2014,April28].